เมื่อวันหนึ่งเพื่อนในกลุ่มไลน์ได้โพสต์รูปภาพบานประตูที่สลักเสลาสวยงามของวัดข่อยทำให้อยากกลับไปจังหวัดเพชรบุรีขึ้นมาทันที อันที่จริงจังหวัดนี้เราก็ค้นเคยกันมาเป็นอย่างดี การเดินทางไปที่นั่นก็บ่อยครั้งด้วยธุระปะปังในเรื่องอื่นๆเสร็จธุระแล้วก็กลับ มิได้ใส่ใจอะไรมากนัก หากแต่บานประตูในภาพนั้นทำให้เกิดแรงบันดาลใจในสิ่งที่เราหลงลืมมาเป็นเวลานานมากแล้ว เรื่องราว หรือสิ่งดีๆที่มีอยู่ในเมืองเพชรอีกมากมาย ถึงเวลาที่จะต้องกลับไปทำความรู้จักที่นี่ให้ลึกซึ้งกว่าที่ผ่านมา ที่เราละเลยเคยชินมาเป็นเวลานาน หลังจากนี้ไปคงมีเวลาใส่ใจรายละเอียดเรื่องราวต่างๆให้มากขึ้น วันนี้ขอกลับไปที่วัดข่อย

จ.เพชรบุรี ไม่ไกลจากกทม.มากนัก ใช้เวลาเดินทางราวๆ 2-3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่ว่าเราเริ่มต้นจากจุดไหน จะไปทางนครปฐม ผ่านราชบุรี หรือจะไปทางถนนพระราม 2 ผ่าน จ.สมุทรสงคราม จ.สมุทรสาคร เข้าแยกวังมะนาว ผ่านอ.เขาย้อย เมื่อใกล้ตัวเมืองจะมีแยกเลี่ยงเมืองสำหรับการเดินทางที่จะผ่านลงใต้ ไปชะอำ-หัวหินแต่การไปวัดข่อย ให้ใช้เส้นทางเข้าตัวเมืองจะดีกว่า ผ่านแยกไฟแดงแยกที่1 ให้เลี่ยวขวา เลยไปอีกนิดจะเจอแยฟไฟแดงที่ 2(หน้าทางขึ้นเขาวัง) ให้ขับตรงไปเรื่อยๆเป็นถนนเล็กๆ 2 เลนต์ ด้านซ้ายมือจะเป็นเรือนแถวไม้เก่า บ้านพักอาศัย ด้านขวามือจะเป็นด้านหน้าของเขาวัง ขับตรงไปเรื่องๆ สัก 200-300 เมตรก็จะถึงวัดมีรั่วกำแพงสีเหลือง วัดอยู่ด้านซ้ายมือ มีประตูให้เข้า 2 ทาง มีที่จอดรถกว้างขวาง

ภาพถ่ายมองจากด้านในของวัด

มุมนี้จะเห็นเขาวังและบ้านทรงไทยหลังคาสีแดง

ในเมื่อจะกลับค้นหาเรื่องราวราละเอียดก็คงต้องมาทำความรู้จักวัดนี้กันหน่อย จากประวัติเล่าว่า ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อไหร่และใครสร้าง(ยังไม่ได้ค้นหาภาพเก่าๆว่าหน้าตาของวัดเป็นอย่างไร) แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ประมาณนั้น ตอนแรกๆวัดนี้ มีพระจำพรรษา 10กว่ารูป โดยมีเจ้าคณะตำบลเป็นเจ้าอาวาส สิ่งสำคัญของวัดนี้ คือพระพุทธเศรษฐีมิ่งมงคล พระประธานของวัดข่อย ซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเพชรบุรี

ภาพพระประธาน ที่ประดิษฐานอยู่ในอาคาร พระธาตุฉิมพลีพระเศรษฐีนวโกฏิ เป็นพระพุทธรูปเนื้อเงินทั้งองค์ ประดิษฐานบนฐานชุกชีประดับตกแต่งด้วยงานเบญจรงค์ ศิลปะปูนปั้นขั้นสูงละเอียดลออสวยงาม ด้านข้างซ้ายและขวา ประดิษฐานพระสิวลีและพระเศรษฐีนวโกฏิ เหนือขึ้นไปบนเพดานเป็นงานไม้ที่ทำจากไม้สัก เป็นยันต์สี่ทิศตกแต่งลวดลายด้วยสีทองรอบทุกด้าน ประดับด้วยฉัตร 5 ชั้นที่องค์พระประธาน

ลวดลายศิลปะปูนปั้น ประดิษฐานบนฐานชุกชีประดับตกแต่งด้วยงานเบญจรงค์


ผนังด้านในของอาคารนี้ทำจากไม้สัก เพดานประดับดวงไฟที่เกาะสลักลวดลายสวยงาม บานประตูหน้าต่าง เป็นลวดลายปิดทองสีเหลืองทองผาผนังเรื่องราวพระพุทธประวัติบางช่วงบางตอน


ภายนอกรอบตัวอาคาร

(อ่านจากประวัติ) พระธาตุฉิมพลีพระเศรษฐีนวโกฎิ เป็นอาคารสถาปัตยกรรมสีขาวมียอดแหลมสูง ประดับด้วยฉัตรเก้าชั้นลดหลั่นกันไป เป็นศาสนสถานที่มีการนำงานศิลปะชั้นสูงของช่างเมืองเพชร หรือเรียกว่า ช่างสิบหมู่ มาเป็นส่วนร่วมสร้างอาคาร เพื่อเทิดทูนบูชาพระพุทธศาสนาให้เกิดความสวยงามตามความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน จนเรียกได้ว่า เป็น พุทธสถานศิลป์ แนวคิดในการก่อสร้างเริ่มจากปี 2548 โดยพระวัชรวิชญ์สิริปัญโญในสมัยนั้นยังเป็น ฆราวาสได้มีโอกาสเห็นผ้ายันต์ฉิมพลีของวัดท่าไชยศิริ อ.บ้านลาดจึงจินตนาการต่อว่าภาพบนผืนผ้ายันต์เสมือนวิมานบนสวรรค์หากมีโอกาสสร้างให้เป็นจริง ต่อมาในปี 2554จึงได้เริ่มนำแนวคิดที่ว่านี้มาสร้างถาวรวัตถุแห่งนี้ขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระธาตุฉิมพลีพระเศรษฐี เป็นอาคารสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประดับด้วยลวดลายคล้ายผ้ายันต์ สื่อความหมายตามจินตนากา มีพระพุทธรูปประจำอยู่ 4 ทิศ ความสูงจากฐานถึงยอดพระธาตุ 27 เมตร มีจำนวน 3 ชั้น ด้านชั้นบนสุดเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุภายนอกเป็นลายปูนปั้นทั้ง 2 ชั้น



รอบๆอาคารชั้นล่าง จะมีงานปูนปั้นของเทพต่างๆ ประกอบด้วย เทพทั้ง 8 เล่นเครื่องดนตรีไทยใน อริยาสบท ทั้ง ดีด สี ตี เป่าและลวดลายประกอบที่อ่อนช้อยสวยงาม






มณดปประจำด้านข้างซ้าย-ขวา

ประดับตกแต่งด้วยศิลปะปูนปั้นเรื่องราวพระมหาชนก







บริเวณรอบๆวัด จะตกแต่งประติมากรรมปูนปั้นหลายรูปแบบ





มุมหนึ่งของเจ้าแม่กวนอิม





มีสวนดอกไม้และสีเขียว


บทส่งท้าย

เราใช้เวลาอยู่ที่นี่นานพอควรค่อยๆเดินชม ถ่ายภาพ สวดมนต์อธิฐานขอพรต่อพระประธานซึ่งจะมีคำสวดไว้บริการ ได้พิจารณาชมความสวยงามและงานศิลป์ กลับมาค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเรียนรู้ประวัติและทำความรู้จักให้มากขึ้น วัดข่อยที่บันทึกได้ในวันนี้

สำหรับอาหารแนะนำ ขนมจีนทอดมัน อาหารประจำเมืองเพชรเมนูหนึ่ง ซึ่งมีร้านนุชอยู่ตรงกันข้ามกับวัด ลองแวะลิ้มลองดู หากแต่วันที่ไปร้านปิดพอดี(ปิดวันพุธ-พฤหัส) เลยไม่ได้ทาน

ขอแบ่งปันในตอนนี้เพียงแค่นี้ค่ะ



enjoyinglife

 วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 เวลา 14.36 น.

ความคิดเห็น