ชุมชนริมแม่น้ำจันทบูรนั้น ไม่ไกลจากวิหารแม่พระมารีอาเท่าใดนัก ใช้เวลาเดินประมาณ 10 นาที แต่เราไม่เดิน เพราะเราเอารถไป (วะฮะฮ่า) เราขับรถมาจอดที่วัดจันทน์ แล้วเดินข้ามสะพานข้ามแม่น้ำจันทบูรมา ก็จะเจอชุมชนริมแม่น้ำจันทบูร เป็นชุมชนเล็ก ๆ มีความยาวประมาณ 1 กม. แต่ด้วยความที่เราไปถึงช่วงบ่ายวันศุกร์ ร้านรวงก็เลยไม่มากเท่ากับวันหยุด ถึงอย่างนั้นก็ยังมีผู้คนมาเยือน ชื่นชมกับวิถีชุมชนเก่าแก่แห่งนี้ไม่ขาดสาย

วิวริมฝั่งแม่น้ำจันทบูร

ชุมชนริมแม่น้ำจันทบูร

หลังลงจากสะพานเลี้ยวไปทางซ้ายมือ เราจะเจอกับถนนเล็ก ๆ แต่ก็เพียงพอจะให้ทั้งรถเล็ก รถใหญ่ขับผ่าน มีตึกรามบ้านช่องแบบปูนปั้นประดับมากมายรายเรียง ร้านค้าประจำยังคงเปิดให้บริการ แต่ร้านค้าเฉพาะกิจที่คงขายเฉพาะเสาร์อาทิตย์นั้นก็ยังคงปิดอยู่เช่นเดิม

ชุมชนริมน้ำจันทบรูนั้น เป็นชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำจันทบุรีด้านตะวันตก แต่เดิมรู้จักกันในชื่อที่เรียกกันติดปากว่า "บ้านลุ่ม" ซึ่งเป็นชุมชน เก่าแก่ของชาวจีนและญวนอพยพตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ต่อมาได้พัฒนามาเป็น ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าของ จันทบุรีที่สำคัญแห่งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบัน คือ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจันทบุรี เรียกได้ว่า หากใครที่มาเยือนจังหวัดจันทบุรีแล้วไม่แวะมาถือว่าพลาด

ศาลเจ้าประจำชุมชน ศาลเจ้าตั้วเล่าเอี๊ย

มีจุดเริ่มต้นจากเชิงสะพานวัดจันทร์ เป็นแนวไปตลอดจนถึงชุมชนตลาดล่าง บริเวณที่เรียกว่าท่าเรือจ้างอาคาร ส่วนใหญ่ เป็นที่พักอาศัย และร้านค้าของชุมชนที่มีอายุเกือบร้อยปี ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5

มีลักษณะเป็นตึกแถวโบราณลวดลายไม้จำหลักอ่อนช้อย งดงาม อยู่ตามบานประตูหน้าต่างและมุมอาคาร ซึ่งจะพบรูปแบบเรือนขนมปังขิงปะปนอยู่ด้วย เพราะชาวจันทบุรีได้รับอิทธิพลจากการ ติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศเมื่อสมัย ร. 5

เรือนประวัติศาสตร์ หลวงราชไมตรี

ด้านล่างเปิดพิพิธภัณฑ์ส่วนบุคคลให้เข้าชมฟรี

มุมขายของที่ระลึก

บ้านหลวงราชไมตรี
อีกหนึ่งที่น่าสนใจ โดยท่านหลวงราชไมตรี ถือเป็น "บิดาแห่งยางพารา ภาคตะวันออก" เพราะท่านเป็นคน นำเอาพันธุ์ยางจาก มาเลเซียมาทดลองปลูกที่ตำบลพลิ้ว และปรับปรุงพันธุ์ขยายพันธุ์จนสามารถส่งออกไปขายยังประเทศอังกฤษได้ บ้านของท่าน ที่ถนนสุขาภิบาล นี้มีสองฝั่งอยู่ตรงข้ามกัน คือ ฝั่งริมแม่น้ำจันทบุรี เป็นตึกไม้สักทองทั้งหลัง ส่วนฝั่งตรงข้ามจะเป็น ตึกแบบฝรั่ง โดยปัจุบันฝั่งริมน้ำได้เปิดให้เป็นที่พักสำหรับผู้ที่ชื่นชอบในบรรยากาศโบราณและคลาสสิคของชุมชนเก่าแห่งนี้ สนใจจองห้องพัก http://www.baanluangrajamaitri.com

ชั้นบนเปิดเป็นที่พักสุดหรู สวยงามตามแบบฉบับบ้านประวัติศาสตร์

ลักษณะการฉลุลายของช่างฝีมือชาวจันทบุรีจัดได้ว่า มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร โดยเฉพาะการจำหลักฉลุช่องลม เป็นภาพจำหลัก นูนรูปหัวพยัคฆ์สอดแทรกอยู่ตามกิ่งเครือเถา หรือความคมเฉียบของลายที่แฝง ไปด้วยความอ่อนช้อย ของลายจำหลักจึงถือว่าเป็นย่านประวัติศาสตร์ของจันทบุรี

ร้านผัดไทยหน้าบ้านหบวงราชไมตรี

ขวา กล้วยงวงช้าง ลูกเบ้อเริ่มเทิ่ม

ประวัติชุมชนเก่าริมน้ำจันทบูร
ย่านท่าหลวง-ตลาดล่าง มีความสำคัญต่อบทบาทการค้ากับต่างประเทศของจันทบุรีในยุคนั้น คือเป็นจุดที่เรือบรรทุกสินค้าของป่าที่ รวบรวมมาได้จากป่าแถบตะเคียนทอง น้ำขุ่น คลองพลู วังแซ้มในบริเวณ เขาคิชฌกูฎและ เขาสอยดาว จะล่องลงมาตามลำน้ำจันทบุรี และ มาเทียบท่าที่ตลาดท่าหลวงโดยมีกล่มชาวชองซึ่งเป็นชนพื้นเมือง เดิมที่อาศัยอยู่ในแถบเทือกเขาในจันทบุรี ระยอง และตราด เป็นแรงงานในการจัดเก็บของป่านำมาจำหน่ายในตัวเมืองจันทบุรี

ในปีหนึ่งชาวชองจะล่องแพนำสินค้ามาจำหน่ายในเมืองเพียง ครั้งเดียว คือในระหว่างเดือน 10 ถึง 12 (เดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน) เนื่องจากเป็นฤดูน้ำหลากสามารถล่องแพลงมาตามลำน้ำ ได้สะดวก ส่วนในฤดูแล้ง ระหว่างเดือน 3 ถึง 5 (เดือนกุมพาพันธ์ถึงเดือนเมษายน) ต้องลำเลียงทางเกวียนซึ่งลำบากและใช้เวลานาน จึงไม่เป็นที่นิยม

(ซ้าย) บ้านขนมเทียนแก้วลุงจุ่น วันนี้มีแต่ขนมเทียนลุงไม่มา

ในช่วงที่กองทหารฝรั่งเศสเข้ามายึดครองจันทบุรี (พ.ศ. 2436-2447) การค้าขายในย่านนี้เป็นไปอย่างคึกคัก นอกจากสินค้าป่าแล้ว ยังมีการลักลอบจำหน่ายสินค้าประเภทสุรา ฝิ่น กาแฟ ชา การเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจของย่านท่าหลวง-ตลาดล่างส่งผลให้ทางรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ต่าง ๆ ในบริเวณนี้ก่อนบริเวณอื่น ในปี พ.ศ. 2451 จึงได้ประกาศให้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลที่ตำบลตลาดเมืองจันทบุรีเป็นแห่งแรกในเขตจันทบุรี

คาเฟ่แบบโบราณ

นอกจากนี้ในช่วงที่ มีการค้าขยายตัว มีจำนวนประชากรอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานชั่วคราวในย่านนี้ถึงปีละ 100 คน เศษมีพ่อค้าต่างถิ่น อาทิ แขก กุหล่า พม่า เข้ามาตั้งร้านค้าชั่วคราวรวมทั้งมีพ่อค้าเร่จากบ่อพลอยไพลิน บ่อนาวงที่มาซื้อขายสินค้าต่าง ๆ และนำพลอยมาขายปีละนับพันคน เมื่อศูนย์กลางการค้าภายใน เมืองจันทบุรีย้ายไปอยู่ที่ตลาดน้ำพุ

ลักษณะทางกายภาพของท่าหลวง-ตลาดล่างยังปรากฏให้เห็น วัฒนธรรมการตั้งบ้าน เรือนหรือ ร้านค้าที่ หันหลังให้แม่น้ำ หันหน้าเข้าสู่ถนนบ้านเรือนเป็นเรือนติดดิน นิยมสร้างเป็นเรือนหลัง ใหญ่ทรงจั่วใช้วัสดุ ในท้องถิ่นก่อสร้าง อาทิ ไม้แฝกใบจากนิยมยื่นชายคากออกมาเพื่อเป็นร้านค้าติดระเบียงทางเดิน ด้านหน้าตาม ลักษณะที่พักอาศัยกึ่งพาณิชย์อันเป็นลักษณะวัฒนธรรมการค้าขายของชาวจีน อาคารพักอาศัยและร้านค้า ย่านท่าหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างมากควรจะมีการอนุรักษ์เอาไว้เพื่อการท่องเที่ยว หรือโฮมสเตย์ ปัจจุบันยังมีกองถ่ายละคร และกองถ่ายภาพยนตร์ รวมทั้งภาพยนตร์โฆษณามาใช้โลเกชั่นบริเวณนี้กันบ่อยครั้ง

กราฟิตี้ รูปศาลเจ้า

ร้านขายเครื่องกงเต๊ก

ร้านกาแฟรุ่นใหม่

(ซ้าย) ร้านอาหาร (ขวา) ร้านตัดผม

หลังจากเดินเที่ยวชมความงดงามของสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของชาวจันทบูรได้สักพัก ก็ได้เวลาอันสมควรที่เราจะต้องออกเดินทางไปเข้าที่พักกันแล้ว เพราะ ณ ขณะนี้เรายังไม่รู้เลยว่าอยู่ตรงไหน .....

อ้างอิง :: ชุมชนชนริมน้ำจันทบูร


เรื่องที่เกี่ยวข้อง ::

เที่ยวเมืองจันทน์ :: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล วิหารที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง ในประเทศไทย

เที่ยวเมืองจันทน์ :: ชุมชนบุราณ ริมแม่น้ำจันทบูร

ซีทรู (Sea Thru Restaurant) ห้องอาหารหรู ริมหาด ประกาศเมนูของดีเมืองจันทน์ @ โรงแรม เจ้าหลาวทอแสงบีช

เที่ยวเมืองจันทน์ :: Review โรงแรมเจ้าหลาวทอแสง บีช จันทบุรี Chaolao Tosang Beach Hotel Chanthaburi

เที่ยวเมืองจันทน์ :: "ไปเลี้ยงฉลาม" ที่ หน่วยสาธิตการเลี้ยงสัตว์น้ำ ภายในอ่าวคุ้งกระเบน

เที่ยวเมืองจันทน์ :: ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน อ่าวคุ้งกระเบน

เที่ยวเมืองจันทน์ :: "เนินนางพระยา เนินแห่งรัก"

เที่ยวเมืองจันทน์ :: กินกาแฟ แลประภาคาร ที่ Coffee Cove at Peggy's Cove Resort

เที่ยวเมืองจันทน์ :: ไปทำกิจกรรม "เสื้อย้อมคราม" @ Peggy's Cove Fisherman Village

กินอิ่ม ในบรรยากาศอบอุ่น Review Light House Bar&Grill @ Peggy's Cove Fisherman Village อ่าวคุ้งวิมาน จันทบุรี

เที่ยวเมืองจันทน์ :: Review Peggy's Cove Fisherman Village อ่าวคุ้งวิมาน จันทบุรี

เที่ยวเมืองจันทน์ :: รีวิว ห้องพัก และบุฟเฟห์อาหารเช้า @ Peggy's Cove Fisherman Village อ่าวคุ้งวิมาน จันทบุรี

สายลม ที่ผ่านมา

 วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 20.04 น.

ความคิดเห็น