ภูทอก เป็นที่ตั้งของวัดเจติยาศรีวิหาร (วัดภูทอก) อยู่ในอาณาเขตบ้านคำแคน ตำบลนาสะแบง จ.บึงกาฬ โดยมีพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ เป็นผู้ก่อตั้ง ในภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว ภูทอก มี 2 ลูก คือภูทอกใหญ่และภูทอกน้อยส่วนที่นักแสวงบุญและ นักท่องเที่ยวทั่วไป สามารถชมได้คือ ภูทอกน้อย ส่วนภูทอกใหญ่อยู่ห่างออกไป ยังไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวชม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการเดินเท้าขึ้นสู่ยอดภูทอก จุดเด่นของภูทอกก็คือ สะพานไม้และบันไดขึ้นชมทัศนียภาพรอบ ๆ ภูทอก ใช้เพียงแรงงานคนสร้าง บรรไดเวียนไปมา รอบภูทอกแบบ 360 ซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 5 ปีเต็มจากชั้น 1-7 จะมีบันไดไม้ให้เดินแบบ ตรงทอดยาวจนถึงจุดสูงสุดของ ยอดภูทอก และตั้งแต่ชั้นที่ 3 เป็นต้นไปนักท่องเที่ยวสามารถเดินชม แบบสะพานเวียน ฝรอบเขา ภูทอก ปิดไม่ให้นักท่องเที่ยว ขึ้นในวันที่ 10 -16 เมษายน ของทุกปี

-ทางลื่น

-มีบันไดชันหลายจุด

-ควรพกน้ำ อาหารไปทานระหว่างทาง

-ไม่มีค่าใช้จ่าย

-งดใช้เสียงดัง

-ควรแต่งกายให้สุภาพห้ามนุ่งขาสั้น

-เดินไกลและชัน

-การเดินทางด้วยรถส่วนตัว ภูทอก เริ่มที่ตัวอำเภอบึงกาฬ แล้วเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 222 ถึงอำเภอศรีวิไล จากอำเภอศรีวิไล มีทางแยกซ้ายผ่านบ้านนาสิงห์ บ้านสันทรายงาม สู่บ้านนาคำแคน ถึงภูทอกเป็นระยะทางอีก 20 กิโลเมตร

เมื่อเดินทางมาถึงวัดภูทอก จะมีป้ายบอกทางขึ้นไปยังภูทอก

ชั้นที่ 1-2 เป็นบันไดไม้

สุดทางชั้นที่ 3 มีทางแยก สองทาง ทางซ้ายมือ เป็นทางลัดไปสู่ชั้นที่ 5 ได้เลย ซึ่งเป็นทางชันมาก ผ่านซอกหินที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์ ทางขวามือ เป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4 ถ้าไม่อยากเดินชันมากให้มาทางซ้าย ส่วนทางขวาจะมาก(เดินมาแล้วแต่วิวก็สวย)

ตรงนี้คือเส้นทางที่เลี้ยวซ้ายมาเมื่อสักครู่

ชั้นที่ 4 เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกัน เรียกว่า "ดงชมพู" ทิศตะวันออกจดกับภูลังกา เขตอำเภอเซกา ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดิบ มีสัตว์ป่ามากมายอาศัยอยู่ โดยเฉพาะมีฝูงกา มาอาศัย อยู่มาก จึงเรียกกันว่า "ภูรังกา" แล้วเพี้ยนมาเป็น "ภูลังกา" ในที่สุด

ชั้นที่ 5 ถือว่าเป็นชั้นที่สำคัญที่สุด จะมีศาลาขนาดใหญ่ พระพุทธรูป กุฏิพระ และเป็นที่เก็บสังขารของพระอาจารย์จวน ตลอดตามช่องทางเดินจะมีถ้ำอยู่หลายจุด เช่น ถ้ำเหล็กไหล ถ้ำแก้ว ถ้ำฤาษี ฯลฯ มีที่ให้นั่งพักะหว่างทางเดิน ถ้าเดินมาทางด้านเหนือจะเห็นสะพานหินธรรมชาติทอดสู่พุทธวิหารอันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีลักษณะแปลกและน่าอัศจรรย์ที่สุดคล้าย ๆ กับพระธาตุอินทร์แขวนที่พม่า คือ เป็นหินแยกตัวออกมาจากหินก้อนใหญ่ แต่ไม่ตกลงมา เพราะตั้งอยู่อย่าง ได้ฉากกับพื้นโลกพอดี ปัจจุบันมีสะพานไม้เชื่อมต่อระหว่างสะพานหินกับพุทธวิหาร มองออกไปจะ เห็นแนวของภูทอกใหญ่อย่าง ชัดเจน และมีบันไดเวียนขึ้นสู่ชั้นที่ 6 ซึ่งเป็นชั้นสุดท้ายของบันไดเวียนรอบเขา

ชั้นที่ 5

เลือกเดินมาทางซ้ายมือเพื่อเดินไปสู่พุทธวิหาร

พุทธวิหาร แปลว่า สถานที่พักผ่อนของท่านผู้ตรัสรู้แล้ว เป็นสถานที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุ

และเป็นที่พระอริยหลายองค์มาพักผ่อนและละสังขารที่นี่ มีลักษณะที่แปลกและน่าอัศจรรย์ที่สุด

คล้ายกับพระธาตุอินทร์แขวนที่ประเทศพม่า ปัจจุบันมีสะพานไม้เชื่อมต่อระหว่างสะพานหินกับพุทธวิหาร

สะพานหินธรรมชาติทอดสู่พุทธวิหาร อันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

ทางเดินในชั้นที่ 5 สามารถเดินเป็นเป็นวงกลมได้ จุดชมวิวจะแตกต่างกันออกไป

บันไดไม้สู่ชั้นที่ 6

ชั้นที่ 6 จะเป็นจุดชมวิวิที่สวยที่สุด ตลอดทางเดินจะเป็นหน้าผายื่นออกมาทำให้ในบางครั้งเวลาเดินต้องเบี่ยงตัวออกมาเล็กน้อย โดยแต่ละจุดก็จะมีชื่อของหน้าผาที่แตกต่างกัน เช่น ผาเทพนิมิตร ผาหัวช้าง ผาเทพสถิต เป็นต้น ในช่วงฤดูหนาวจะ มีทะเลหมอก ลอยอยู่รอบ ๆ ยอดเขา ทำให้เหมือนอยู่บนสวรรค์ จากชั้นที่ 6 สู่ชั้นที่ 7 เป็นสะพานไม้เวียนรอบเขายาว 400 เมตร เกาะติดอยู่ริม หน้าผา สูงชันดูน่าหวาดเสียวอันตราย มีความยาว 400 เมตร สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และน่าชมที่สุดของชั้นนี้คือ ปากทางเข้าเมืองพญานาค ซึ่งอยู่หลังพระปางนาคปรก

ทางเดินไปสู่ชั้นที่ 7

แต่ละชั้นระวังลื่นด้วยนะคะ

ชั้นที่ 7 จะมีบันไดไม้พาดขึ้นมา เมื่อเดินขึ้นบันไดผ่านมาแล้วจะเจอทางแยก 2 ทางเพื่อขึ้นไปบนดาดฟ้าชั้น 7 ทางแรกเป็นทางชัน ต้องเกาะ เกี่ยวกิ่งไม้และรากไม้เดินลำบาก แถมยังมีป้ายบอกให้ "ระวังงู" ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีอยู่มากบนยอดภูแห่งนี้ด้วย ควรใช้อีกทาง หนึ่งซึ่งเป็น ทางอ้อมต้อง เดินเวียนไปทางขวามือ แต่ก็จะมาบรรจบกันด้านบนชั้น 7 หรือดาดฟ้า ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม่ทึบธรรมดา มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ บนชั้น 7 สามารถเดินชมวิวไปรอบบริเวณ มีจุดชมวิวหลักๆ อยู่ 3 จุด

ภูทอกสวยทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็นตรงนี้เป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ตกได้ดีอีกหนึ่งแห่ง ภูทอกเดินง่ายวิวสวย แต่ระวังลื่นถ้าเดินในช่วงหน้าฝน

I'm Che

 วันพฤหัสที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เวลา 10.23 น.

ความคิดเห็น