ถ้ำเชลย

สู่สันติภาพ และ ความรัก

ถ้ำเชลยแห่งนี้ เป็นอีกหนึ่งสถานที่สำคัญในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากใช้เป็นค่ายพักของเชลยศึกฝ่ายพันธมิตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอังกฤษ ออสเตรเลีย เนเธอแลนด์ และเป็นที่หลบภัยจากการทิ้งระเบิด ตามประวัติได้เล่าไว้ว่าด้านในถ้ำมีแอ่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ เชลยศึกคนไหนที่ป่วยหนัก ได้กินน้ำในแอ่งน้ำนี้ก็จะหายป่วยได้เอง

เวลาเปิด-ปิด: 8.30-16.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม

ฝากกด Like กดติดตามกันด้วยน้า : https://www.facebook.com/TeeNeeGorDeeNa

อาคารพิพิภัณฑ์ประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 แสดงภาพถ่ายการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ ทางขึ้นไปถ้ำเชลย จะอยู่ทางด้านขวาของอาคารนี้

ระยะทางเดินขึ้นไปถ้ำเชลยประมาณ 400 เมตร แบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกจะเป็นทางบันไดหินขึ้นไปสู่ยอดเขาระยะทางประมาณ 200 เมตร

ระหว่างทางก็จะมี ดอกไม้ ต้นไม้ รวมถึงเห็ด หน้าตาแปลกๆ แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของป่า

ช่วงที่ 2 จะเป็นทางเดินบนยอดเขา เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ อีก 200 เมตร เป็นทางท่ามกลางป่าไผ่ ร่มรื่น เดินสบายไม่ชันเหมือนช่วง 200 เมตรแรก

ด้านหน้าถ้ำ จะมีป้ายบอกถึงประว้ติความเป็นมาของถ้ำเชลยแห่งนี้

มีบันไดลงไปด้านในถ้ำ เดินลงไปได้สะดวก

ด้านในถ้ำเป็นห้องโถงกว้าง อากาศถ่ายเทสะดวก

มองจากด้านในถ้ำออกไปทางบันไดที่เดินลงมา จะเห็นแสงส่องลงมาในถ้ำ

ด้านในถ้ำมีหินงอก หินย้อย สวยงามมาก


ประวัติความเป็นมา จากป้ายหินแกรนิตหน้าถ้ำเชลย

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๕ สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นได้ก่อสร้างทางรถไฟจากประเทศไทยไปประเทศพม่าและดินเดีย ระยะทางกว่า ๔๐๐ กิโลเมตร เพื่อใช้ขนส่งทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์จากไทยไปยุโรป ญี่ปุ่นได้จับเชลยศึกฝ่ายพันธมิตรได้ในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ส่วนใหญ่เป็นชาวอังกฤษ ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ Mr.John Coast เชลยศึกชาวออสเตรเลียที่รอดตายได้กลับมาเล่าว่า ตนและเชลยศึกอีกหลายคนที่ขึ้นมาหลบระเบิดในถ้ำนี้แล้วป่วยเป็นไข้ป่าอย่างหนักใกล้ตายกลับลงไปทำงานไม่ไหว ทหารญี่ปุ่นที่คุมเชลยถ้ำแห่งนี้ เห็นว่าใกล้ตายจึงปล่อยทิ้งไว้ให้ตาย ไม่ให้อาหารและยา ไม่นำกลับไปค่ายด้านล่างภูเขาเพื่อไปสร้างทางรถไฟต่อไป ปล่อยให้ตายบนเขาแห่งนี้ เชลยหลายสิบคนที่ป่วยเป็นไข้ป่า (มาลาเรีย) อย่างหนัก ไม่มียา ไม่มีอาหารให้กิน ได้อาศัยกินน้ำผึ้งป่า และผลไม้ป่าที่หาได้และอาศัยน้ำแอ่งหินภายในถ้ำ แต่เกิดอัศจรรย์เมื่อกินน้ำที่อยู่ในแอ่งหินขนาดเล็กภายในถ้ำที่ตักดื่มกินเท่าไหร่ก็ไม่แห้งสักที แล้วทุกคนที่ป่วยจากไข้ป่าอย่างหนักกลับหายป่วยอย่างอัศจรรย์ทุกคน จนทำให้ทหารญี่ปุ่นที่เป็นทหารเวรเฝ้าเชลยศึกแปลกใจเป็นอย่างมากว่าเชลยที่ป่วยใกล้ตายไม่มียาให้กินแล้วหายได้อย่างไร Mr.John Coast ได้บอกกับทหารญี่ปุ่นว่าได้ดื่มน้ำในแอ่งหินศักดิ์สิทธิ์ภายในถ้ำแล้วหายป่วยเอง แต่ทหารญี่ปุ่นไม่เชื่อและได้นำเอาน้ำในแอ่งหินนี้ไปให้ทหารญี่ปุ่นเองและเชลยที่ป่วยเป็นไข้ป่าอย่างหนักกิน และไม่กี่วันทุกคนที่ป่วยหนักกลับหายป่วยจริง ทหารญี่ปุ่นจึงเชื่อ และได้ไว้วางใจ Mr.John Coast และได้ให้เป็นหัวหน้างานและเป็นเชลยศึกผู้หนึ่งที่ได้รอดตายจากสงครามโลกครั้งที่สอง ได้กลับมาเล่าประวัติฯ ถ้ำแห่งนี้ ถ้ำแห่งนี้ได้ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งสำคัญ และต่อมาจึงได้ตั้งชื่อว่า "ถ้ำเชลย"

--- ขอบคุณค่ะ ---

ที่นี่ก็ดีนะ 5365

 วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 15.30 น.

ความคิดเห็น