27th January 2019


ด้วยเนื้องานทำให้การเดินทางเยือนลำพูนคราวนี้ต้องสืบเสาะหาที่เที่ยวคั่นเวลา.. ลำพูนมีสิ่งดีงามและโบราณสถานเรียงรายให้เที่ยวได้ไม่หยุดไม่หย่อน เรียกได้ว่าจะให้ใช้เวลาเป็นวัน ๆ เที่ยวอยู่อย่างนั้นก็คงเก็บไม่หมดในวันเดียวค่ะ..

ด้วยการเยือนลำพูนคราวนี้เราตั้งอกตั้งใจที่จะไปเยือนสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของลำพูนอย่างอุโมงค์ขุนตานกันค่ะ อะไรที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และรถไฟด้วยแล้ว ยิ่งต้องตามค่ะ

"พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวีศรีหริภุญไช"


และแน่นอนว่า

สถานที่แรกของเช้าวันนั้นราว ๆ หกโมงกว่า ๆ เราเลือกจะไปที่นี่กันก่อนค่ะ อุโมงค์รถไฟขุนตาน ซึ่งตอนเช้าแสงระหว่างทางก็จะ "สวย"

ทางที่จะไปอุโมงค์ขุนตานก็หาไม่ยากค่ะ ตาม GPS ไปก็ถึง หรือตามป้ายไปก็จะมีบอกเป็นระยะ ๆ ค่ะไม่หลงแน่นอน

ทางที่ไปอุโมงค์ขุนตานราดยางตลอดสายค่ะ จะมีช่วงหนึ่งที่เหลือให้วิ่งแค่เลนเดียวแต่ก็ถือว่าขับง่ายอยู่ค่ะ คอนเฟิร์มจากคนขับไม่เก่งอย่างจขบ.

ในที่สุด !!

เราก็ถึงอุโมงค์ขุนตานที่ตั้งใจออกบ้านตามหาก่อนตะวันจะขึ้นซะอีก

อยู่ตรงหน้านี้แล้ว

อุโมงค์ขุนตาน

ว่ากันว่าอุโมงค์รถไฟขุนดานนี้ใช้เวลาขุดเจาะทั้งหมด 8 ปี มีเรื่องเศร้าเกิดขึ้นมากมายขณะที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ ตัวอุโมงค์มีความยาวถึง 1,352 เมตร




เริ่มขุดเจาะตั้งแต่ปีพศ. 2458

และใช้เวลาขุดเจาะและวางรางจนแล้วเสร็จ 11 ป

อุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ก็คือ “อุโมงค์ขุนตาล” อยู่ระหว่างจังหวัดลำปางกับลำพูน เจาะลอดใต้ดอยงาช้างของเทือกเขาขุนตาลเข้าไป ยาวถึง ๑,๓๖๒.๐๕ เมตรกว่าจะทะลุอีกด้าน นับเป็นความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ สร้างความตื่นเต้นให้คนทั้งประเทศ ซึ่งต้องใช้วิทยาการและความอุสาหะอย่างมาก เพราะเครื่องมือเครื่องใช้ก็ไม่มีเหมือนในยุคนี้ ต้องใช้แรงคนตอกหินทีละก้อน ทั้งการเดินทางเข้าไปทำงานก็ยากลำบาก ต้องบุกป่าฝ่าดงแบกอุปกรณ์เข้าไป ซ้ำวิศวกรชาวเยอรมันที่ควบคุมงานทั้งหมดยังถูกจับในฐานะเป็น “ชนชาติสัตรู” ต้องใช้เวลาถึง ๓ รัชกาลจึงเปิดเดินรถได้
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงทำพิธีเริ่มสร้างทางรถไฟในวันที่ ๔ มีนาคม ๒๔๓๔ จนปลายปี ๒๔๔๘ รถไฟสายเหนือก็เพิ่งเดินรถไปได้แค่สถานีนครสวรรค์ และการสำรวจเส้นทางที่จะไปถึงเชียงใหม่มีอุปสรรคใหญ่ คือเทือกเขาขุนตาลที่ขวางกั้นจนยากที่หลบเลี่ยงได้
การเจาะอุโมงค์ขุนตาลเริ่มต้นในปี ๒๔๕๐ ซึ่งยังอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมีวิศวกรเยอรมันชื่อ อีมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมคนแรก และขุดทั้ง ๒ ด้านให้มาบรรจบกันพอดี ซึ่งต้องใช้การคำนวณที่แม่นยำมาก
จุดเริ่มต้นขุดอุโมงค์ทั้ง ๒ ด้าน อยู่ในบริเวณทุรกันดารที่การเดินทางต้องใช้เดินเท้าหรือขี่ม้าเข้าไป ส่วนอุปกรณ์เครื่องใช้ในการก่อสร้างและสัมภาระทั้งหลาย ต้องใช้ช้างและเกวียนบรรทุก บางตอนที่เป็นภูเขาชันก็ต้องใช้รอกกว้านขึ้นไป โดยฐานหัวงานอยู่ที่ลำปาง
วิธีขุด เริ่มด้วยการเจาะเป็นรูเล็กๆเข้าไปโดยใช้แรงงานคนตอกหรือใช้สว่าน จากนั้นจึงเอาดินระเบิดไดนาไมต์ฝัง สอดใส่แก๊ปหรือเชื้อประทุ แล้วต่อสายชนวนยาวเพื่อความปลอดภัยของคนจุดชนวนระเบิด
บางจุดก็ใช้วิธีสุมไฟให้หินร้อนจัด ซึ่งจะทำให้สกัดออกได้โดยง่าย หรือบางก้อนราดน้ำลงไปหินร้อนก็จะแตกเองเป็นเสี่ยงๆ
ยิ่งขุดลึกเข้าไปงานก็ยิ่งยากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะต้องขนเศษหินออกมาทิ้งนอกอุโมงค์ ซึ่งหินที่เจาะออกมาจากอุโมงค์ขุนตาลมีปริมาณถึง ๖๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร การใช้แรงงานคนขนออกจากถ้ำ จึงเป็นงานที่หนักหนาสาหัสยิ่ง
คนงานที่สมัครมารับภาระในการขุดเจาะอุโมงค์ขุนตาลนี้ ส่วนใหญ่เป็นพวกที่หาทางไปทำงานอย่างอื่นได้ยาก ได้แก่พวกนักร่อนเร่เผชิญโชค พวกขี้เหล้าและขี้ยา ซึ่งขี้ยาในยุคนั้นก็คือพวกสูบฝิ่นที่ยังไม่มีกฎหมายห้าม ปรากฏว่าพวกที่ทำงานได้ดีที่สุดก็คือพวกขี้ยา ซึ่งมีความขยันมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ทั้งๆที่ทุกคนต่างมีร่างกายผอมแห้ง ที่ขยันทำงานก็หวังจะได้เงินมาสูบฝิ่น ทั้งยังไม่มีความกลัวควันพิษต่างๆในอุโมงค์ที่เกิดจากฝุ่นหิน เพราะเชื่อในอิทธิฤทธิ์ของฝิ่นว่าจะกำจัดได้หมด เมื่อขุดเข้าไปลึกๆอากาศหายใจก็น้อยลงทุกที ต้องปั๊มอากาศเข้าไปช่วย แต่พวกสูบฝิ่นที่ผอมแห้งก็ใช้อากาศหายใจน้อยกว่าพวกอื่น
เนื่องจากอุโมงค์ขุนตาลอยู่ในแดนทุรกันดารที่ชุกชุมด้วยไข้ป่า กรรมกรเหล่านี้นอกจากจะเสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ยังมีไม่น้อยที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเพราะความประมาท อย่างเช่นการต่อสายชนวนเข้ากับแก๊ปเชื้อประทุ แทนที่จะใช้คีบบีบ กรรมกรหลายคนมักง่ายใช้ฟันกัดแทนคีม ถ้าเกิดพลาดไม่ถึงตายก็ฟันร่วงหมดปาก
หลังจากขุดอุโมงค์ขุนตาลมาได้ ๕ ปีก็มีเรื่องเศร้าสลดเกิดขึ้นแก่พสกนิกรชาวไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดรถไฟไทย ได้เสด็จสวรรคตในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ แต่การขุดเจาะอุโมงค์ขุนตาลก็ยังดำเนินต่อไป
หลังจากใช้เวลาเจาะอยู่ถึง ๘ ปี อุโมงค์ทั้ง ๒ ด้านก็ทะลุถึงกันตรงตามที่คำนวณไว้ จากนั้นยังต้องใช้เวลาทำผนังและเพดานคอนกรีตตลอดอุโมงค์อีกถึง ๓ ปี เพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำจากภูเขา
ระหว่างที่การขุดอุโมงค์ขุนตาลยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ไทยก็เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ประกาศสงครามกับเยอรมัน ในการตัดสินพระทัยเข้าร่วมสงครามในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคำนึงถึงการเจาะอุโมงค์ขุนตาลและการสร้างทางรถไฟสายเหนือ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของวิศวกรเยอรมันทั้งสิ้น และต่างก็มีความดีความชอบได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ โดย มิสเตอร์ เอฟ ชะแนร์ ได้เป็น พระอำนวยรถกิจ มิสเตอร์ แอร์วิล มูลเลอร์ ได้เป็น พระปฏิบัติราชประสงค์ มิสเตอร์ ยี เอฟ เวเลอร์ ได้รับพระราชทานนามสกุล “เวลานนท์” เมื่อประกาศสงครามกับเยอรมันแล้ว คนเหล่านี้ต้องถูกจับเป็นเชลยทันทีเพราะเป็นชาติคู่สงคราม แม้จะเป็นมิตรที่ดีของคนไทยมาตลอดก็ตาม และเมื่อเห็นว่าไทยไปเข้าข้างสัตรู ก็อาจขุ่นเคืองหาทางแก้แค้นได้ จนมีเหตุไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับอุโมงค์ขุนตาลได้
ดังนั้นในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๖๐ ก่อนจะประกาศสงครามเพียง ๒๕ วัน จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงศึกษาวิชาวิศวกรรมและทหารช่างจากอังกฤษ กำลังดำรงตำแหน่งจเรทหารบก เข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟ ควบคุมการก่อสร้างทางรถไฟทั้งหมด
นอกจากนี้ยังทรงมีพระราชหัตถเลขาถึง พระยาสฤษดิ์การบรรจง (สมาน ปันยารชุน) นายช่างแขวงบำรุงทางรถไฟจังหวัดนครราชสีมา กำหนดให้เปิดซองอ่านในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันที่ทรงกำหนดไว้อย่างเงียบๆว่าจะเป็นวันประกาศสงคราม
พระยาสฤษดิ์การบรรจงได้รับลายพระหัตถ์แล้วก็มิได้เฉลียวใจ เผอิญถึงกำหนดลาพักผ่อนไว้ จึงขึ้นไปเยี่ยมเยียนพระราชดรุณรักษ์ ซึ่งเป็นญาติ ซึ่งไปรับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่จังหวัดเชียงใหม่ พอวันที่ ๒๒ กรกฎาคมจึงไปเปิดซองพระราชหัตถเลขาออกอ่านที่นั่น พอทราบเรื่องก็ตกใจ รีบเดินทางไปที่อุโมงค์ขุนตาลทันที และได้พบกับกรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงไปบัญชาการอยู่ที่นั่นแล้ว
นอกจากจะมีชาวเยอรมันที่ควบคุมการขุดอุโมงค์ขุนตาลถูกจับ ถูกถอดบรรดาศักดิ์ และถูกคุมตัวส่งลงมากรุงเทพฯ ตามกติกาของสงครามแล้ว ยังมีชาวเยอรมันที่อยู่ในกรมรถไฟและกรมไปรษณีย์รวมกันถึง ๑๗๘ คนถูกจับทั้งหมด แต่ก็เป็นการทำตามกติกาสงครามเท่านั้น คนเยอรมันยังได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ใช้โรงพยาบาลทหารบกที่ถนนอุณากรรณ ซึ่งทันสมัยเหมือนโรงแรมชั้น ๑ เป็นที่ควบคุม และยังมีหมอและพยาบาลดูแลสุขภาพด้วย ส่วนครอบครัวที่มีเด็กก็ใช้สโมสรของชาวเยอรมันเองที่ถนนสุรวงศ์เป็นที่กักกัน
เมื่ออุโมงค์ขุนตาลเสร็จเรียบร้อยในปี ๒๔๖๑ จากนั้นก็ถึงขั้นวางราง แต่รางรถไฟสายเหนือจากจังหวัดลำปางก็ยังมาไม่ถึงอุโมงค์ขุนตาล เนื่องจากภูมิประเทศเต็มไปด้วยหุบเหวและป่าทึบ ยากแก่การวางราง โดยเฉพาะในช่วง ๘ กิโลเมตรก่อนถึงขุนตาล มีเหวลึกถึง ๓ แห่งที่ไม่สามารถหลบเลี่ยงได้ ต้องสร้างสะพานข้ามไปเท่านั้น คือหุบเหวที่ ปางยางเหนือ ปางยางใต้ และปางหละ ซึ่งเหวที่ปางหละเป็นเหวที่กว้างและลึกที่สุด ต้องใช้ซุงหลายสิบต้นตั้งเป็นหอขึ้นมาจากก้นเหวรองรับรางรถไฟ ตอนข้ามก็ต้องวิ่งอย่างบรรจงช้าๆ เป็นที่หวาดเสียวของผู้โดยสารอย่างยิ่ง และใช้มาจนหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงเปลี่ยนเป็นหอคอนกรีตเสริมเหล็ก
อุโมงค์ขุนตาลแล้วเสร็จสมบูรณ์ เปิดให้ขบวนรถไฟผ่านเป็นครั้งแรกในวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๖๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ เป็นความตื่นเต้นและปรารถนาของคนไทยอย่างยิ่งที่อยากจะนั่งรถไฟลอดอุโมงค์ขุนตาลสักครั้งในชีวิต แม้ในเวลากลางวันภายในอุโมงค์ขุนตาลก็จะมืด รถไฟต้องเปิดไฟทั้งขบวนจนผ่านพ้นอุโมงค์
การเจาะภูเขาที่เป็นหินแกร่งให้เป็นอุโมงค์กว้างจนรถไฟเข้าไปได้ และเป็นระยะทางไกลถึงกิโลเมตรเศษเช่นนี้ ในยุคนั้นนับว่าเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง จนเกือบเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ก็เป็นไปแล้วด้วยความอุสาหะพยายามของมนุษย์ อย่างที่มีคำกล่าวไว้ว่า “แม้แต่แม่น้ำยังหลีกทาง ภูเขาต้องโค้งคำนับ”
ยิ่งในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกลอย่างในปัจจุบัน ถ้ามนุษย์จะนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์ ไม่เอามาใช้ทำลายล้าง ข่มเหง เบียดเบียนกัน โลกใบนี้ก็จะสวยงามน่าอยู่ขึ้นอีกมาก

เครดิต : thailandtourismdirectory

เจ้าถิ่นก็จะเยอะหน่อย

เช้ามากค่ะ ไม่มีใคร ร้านค้าแถวนั้นก็ไม่เปิดมีแต่เราแค่นั้น

เคยรู้มาว่าจากตรงนี้เดินเท้าไปหาอุทยานแห่งชาติขุนตาลได้ด้วยวันนั้นเลยได้ทีสำรวจทางขึ้นนิดหน่อย พอเรียกน้ำย่อยไม่มากมาย

ใช่ค่ะทางขึ้นเขาไปอุทยานแห่งชาติขุนตาลก็ตรงป้ายรูปล่างนี้เลย

ไว้คราวหน้าจะมาแน่นอน

รางรถไฟก็น่าเดินชะมัด ลองมะ?

สายกำลังดี.. ได้ทีละที่นี่ค่ะ

.

.

.

สะพานขาวทาชมภู

ตั้งอยู่บริเวณบ้านทาชมภู หมู่ 4 ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน อยู่ระหว่างสถานีขุนตานกับสถานีทาชมภู เป็นสะพานประวัติศาสตร์ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2461 และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2463 เพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินรถไฟจากลำปางมายังเชียงใหม่ สะพานขาวบ้านทาชมภูก่อสร้างต่อจากอุโมงค์รถไฟขุนตาน ซึ่งเป็นเส้นทางสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ เพื่อให้รถไฟข้ามผ่านลำน้ำแม่ทา มีลักษณะรูปทรงโค้งทาสีขาว เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ทำให้ชาวบ้านในท้องถิ่นตื่นเต้นเข้ามาดูชมการสร้างสะพานนี้อยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นสิ่งใหม่ รวมไปถึงนำอาหารและสิ่งของมาจำหน่ายให้กับกรรมกรแรงงานและนายช่างอยู่ตลอดเวลา
สะพานทางรถไฟแห่งนี้ทาสีขาวโดดเด่นเป็นสง่าอยู่กลางทุ่ง ถัดจากอุโมงค์ขุนตาน แตกต่างจากสะพานรถไฟอื่น คือเป็นโครงคอนกรีตเสริมเหล็ก ยาว 87.3 เมตร ซึ่งนับเป็นเรื่องแปลกและท้าทาย เนื่องจากปกติสะพานรถไฟจะสร้างด้วยเหล็ก เพราะสามารถทนต่อแรงสะเทือนและอ่อนตัวได้ดีกว่า แต่เนื่องจากช่วงเวลาที่สร้างสะพานเป็นภาวะสงครามไม่สามารถหาเหล็กมาสร้างสะพานได้ แต่ด้วยการคำนวณและควบคุมงานที่ยอดเยี่ยม ทำให้สะพานทาชมพูยังคงใช้งานได้อยู่จนถึงทุกวันนี้
ปัจจุบันนอกจาก สะพานทาชมภู จะเป็นทางรถไฟที่ทอดข้ามแม่น้ำแล้ว ยังใช้เป็นจุดแบ่งเขตแดนระหว่างอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาน กับเขตป่าสงวนแห่งชาติอีกด้วย อีกทั้งสะพานแห่งนี้ยังถือว่าเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญจุดหนึ่งของการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงทำให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ จึงไม่ควรพลาดที่จะหาโอกาสมาแวะชมความงดงามของสะพานทาชมภู เครดิต : thailandtourismdirectory.go.th


แดดเริ่มร้อน เราลาสะพานขาวไปหาอะไรจิบกันเนาะ

.

.

.

เก็บรูปมาเล็กน้อยที่ไร่ริชชา ไร่มัลเบอรี่ชื่อดังของลำพูน

รับรอง

มัลเบอรี่ที่นี่ รับรองความสดค่ะ

.

.

.

สะพานดำ ลำพูน

ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดนักให้สืบหา เรารู้เพียงแต่ว่าคนทุกรุ่นในพื้นที่จังหวัดลำพูนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า.. "เกิดมาก็เห็นสะพานดำนี้เลย" นี่คือคำพูดของเด็กเล็ก ๆ ไปจนถึงคนรุ่นหัวหงอกผมขาว แต่สันนิษฐานกันว่าน่าจะอายุพอ ๆ กับสะพานทาชมภู และอุโมงค์ขุนตาน ระยะไล่ ๆ กันกับสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

ส่วนสาเหตุที่ตัวสะพานเป็นสีดำนั้นเพราะ.. สีของเหล็กที่พอจะหาได้ในสมัยนั้นนั่นเอง จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านเรียกสะพานแห่งนี้ว่า "สะพานดำ" เราไม่อาจจะมองข้ามความธรรมดาของสะพานนี้ได้ แม้จะไม่ได้โดดเด่นอะไร แต่ก็ถือเป็นสถานที่เก่าแก่และเป็นของคู่บ้านคู่เมืองลำพูนหลายยุคหลายสมัยมาค่ะ

ขออนุญาตเจ้าของคลิปด้วยนะคะ

เครดิตภาพมุมสูงสวย ๆ สองภาพนี้ : ขบวน 408 พ รถแอ่วเหนือ ผ่านสะพานดำ ลำพูน

ประวัติสะพานดำที่พอจะหาได้จากคนในพื้นที่ค่ะ ตามข้อความในภาพ

เส้นทางกลับเชียงใหม่ ถนนเรียบทางรถไฟ.. เราก็จะเห็นรถไฟวิ่ง ส่งเสียงหวูดเป็นระยะ ๆ

เส้นทางสายนี้เป็นที่ตื่นเต้นของเด็ก ๆ เสมอค่ะ

ขอบคุณที่แวะมา

Mariabamboo

 วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เวลา 11.54 น.

ความคิดเห็น