วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จัก ชุมชนย่านนางเลิ้ง หรือ อีเลิ้ง เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีอายุยาวนานกว่า 100 ปี บริเวณนี้แต่เดิมไม่ได้ขึ้นชื่อเรื่อง “ตลาด” หรือ “ย่านของกิน” แต่กลับเป็นย่านที่ขึ้นชื่อเรื่องของ “บ่อนการพนัน” แต่หลังจากนั้นก็ได้ถูกยุบไป ปัจจุบัน เป็นชุมชนที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร อาคารบ้านเรือนแถบนี้มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม และเป็นตลาดและย่านที่ขึ้นชื่ออย่างมากด้านอาหาร และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม


สถานที่ตั้ง : ถนน นครสววรค์ แขวง วัดโสมนัส เขต ป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

เวลาทำการ : ทุกวัน จันทร์ - เสาร์ เวลา 10.00 - 14.00 น.


วิธีการเดินทางก็มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกตามความสะดวกไม่ว่าจะเป็น

  • รถประจำทางสาย 171, 53, 2, 8, 44, 59, 60, 79, 183, 511, A4, S1, 49
  • รถไฟฟ้า ลงสถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ต่อด้วยรถประจำทางสาย 509
  • ลงท่าเรือ โบ๊เบ๊ เดินเท้าไปยังย่านนางเลิ้งใช้เวลาประมาณ 10 นาที

( ข้อมูลจาก : คู่มือนำเที่ยว Guidebook )


อัตลักษณ์ของชุมชน เป็นชุมชนที่มีแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีในอดีต ความโดดเด่นอย่างแรกที่ทำให้ชุมชนมีความน่าสนใจ คือความเก่าแก่ การค้าขายแบบเก่า สินค้าอย่างอาหารโบราณของชุมชน และศิลปะการแสดง นอกจากบรรยากาศเมืองเก่าที่เป็นความพิเศษของชุมชน ย่านนี้ยังผสมผสานความเป็นสมัยใหม่อย่างสตรีทอาร์ท อย่างตึกสีชมพูหวานๆ ที่มีลวดลายไม่ต่ำกว่า 10 แบบ ตึกด้านนอกถูกใช้เป็นบ้านและร้านค้า และยังสามารถรับรองนักท่องเที่ยวหลากหลายเชื้อชาติอีกด้วย



แหล่งท่องเที่ยวในชุมชน สถานที่แรกที่เราจะไปคงเป็นที่ไหนไม่ได้นอกจาก " ตลาดนางเลิ้ง " ตลาดเก่าแก่อายุนับร้อยปีที่หลายคนอาจจะคุ้น เป็นหนึ่งในสถานที่ที่นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมไม่ขาดสายเพราะมีของกินเจ้าดังมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ร้านก๋วยเตี๋ยว ส.รุ่งโรจน์ เจ๊มัยข้าวขาหมู นันทาขนมไทย และ ขนมแม่กวา ที่ใครก็พลาดไม่ได้



เมื่อเดินเข้าไปในตลาดมีร้านค้ามากมาย แต่สิ่งที่เราลองเป็นอย่างแรกก็คือ ขนมหวาน " ร้านนันทาขนมไทย " จากการสอบถามข้อมูลทางร้าน เริ่มขายมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 มีหลากหลายสูตรขนมตกทอดมาจากรุ่นปู่สู่รุ่นปัจจุบัน ซึ่งเป็นต้นเครื่องที่อยู่วังหลังขนมจะใส่กระทงใบเตยสี่เหลี่ยม เน้นที่รสชาติของขนมเป็นส่วนหลัก ขนมขึ้นชื่อทางร้าน ขนมตาล ขนมกล้วย ข้าวเหนียวหน้าปลาแห้ง ตะโก้ ขนมฟักทอง




เดินไปเรื่อยๆก็เริ่มหิว เลยเลือกนั่งร้านก๋วยเตี๋ยวชื่อดัง " บะหมี่รุ่งเรือง " สุดยอดบะหมี่ฮกเกี้ยน ขายมากว่า 60 ปี เป็นบะหมี่สูตรโบราณที่เริ่มก่อตั้งในเมืองไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 สไตล์การผลิตแบบดั้งเดิมสร้างความประทับใจให้ทุกคนได้ชิม เส้นบะหมี่แบบพิเศษ เหนียวนุ่ม ที่ไม่เหมือนใคร และร้านยังได้รับรางวัลเชลล์ชวนชิมอีกด้วย





บรรยากาศภายในร้าน

หลังจากนั้นเราก็ใช้เวลาตระเวนชิมทั่วตลาดหอบหิ้วของกินกันจนหมดแรง


เจ๊มัยข้าวขาวขาหมู


ร้านขนมแม่กวา






หลังจากเดินจนทั่วตลาดก็อยากจะเดินสายทำบุญบ้างเลยแวะไป " วัดสุนทรธรรมทาน " หรือ " วัดแคนางเลิ้ง " เคยเป็นโบสถ์ที่สูงสุดในประเทศไทย ศูนย์รวมจิตใจของชาวนางเลิ้งแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธสุนทรมุนี หลวงพ่อดำ หลวงพ่อบารมีและหลวงปู่ธูป



จากนั้นก็เดินเลาะไปเรื่อยๆจนมาเจอบ้านหลังเล็กชื่อ " บ้านนราศิลป์ " เป็นบริษัทสร้างภาพยนตร์ในยุคแรกๆ ตั้งอยู่ในตรอกละครชาตรี และเดินสายจัดงานแสดงโขนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 จนกลายมาเป็นแหล่งขึ้นชื่อในการเช่าชุดโขน ชุดรำ ชุดละคร ที่ทำด้วยมือ ในปัจจุบันยังเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมของชุมชนอีกด้วย สำหรับผู้ที่สนใจก็สามารถติดต่อนัดหมายเข้าเยี่ยมชมได้ ( ข้อมูลติดต่ออยู่ท้ายย่อหน้าสุดท้ายนะคะ )



ก่อนจะจบทริปเราได้คำแนะนำจากคุณลุงเจ้าของบ้านนราศิลป์ให้แวะไปเยี่ยมชม " บ้านเต้นรำ " ที่อยู่ซอยถัดไป เป็นบ้านไม้สไตล์คลาสสิคในยุค 60-70 เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สอนเต้นลีลาศให้กับคนที่รักเสียงดนตรี และ ที่จัดแสดงงานศิลปะให้กับคนรุ่นใหม่




กิจกรรมชุมชน ( CBT ) : กิจกรรมปักผ้า ( สาธิตการปักเครื่องโขน, ชุดละคร ) และ การฉายภาพยนตร์โดยทีมสร้างของ " นราศิลป์ภาพยนตร์ "

ถ้าใครที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสามารถติดต่อนัดหมายล่วงหน้าได้ทางสถานที่จะมีผู้เชี่ยวชาญหรือคนในชุมชนมาให้คำแนะนำและสาธิตการปักชุดโขนอย่างละเอียด ทั้งยังสามารถรับชมภาพยนตร์และนิทรรศการหัวโขนได้อีกด้วย ( กิจกรรมทั้งหมดไม่เสียค่าใช้จ่ายนะคะ )




ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งในย่านนางเลิ้งและหวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจสถานที่เที่ยวใกล้เมืองกรุงสามารถแวะมาเที่ยวชมกันได้นะคะขอบคุณค่ะ ^^


ชุมชนย่านนางเลิ้ง




ช่องทางการติดต่อชุมชน

Facebook Page : ย่านนางเลิ้ง Nang Loeng

Tel : 098-5859286

Facebook Page : บ้านนราศิลป์

Tel : 02-2814838

Facebook Page : Ban Ten Ram

Tel : 084-0088103










uhookidyy

 วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 14.38 น.

ความคิดเห็น