เบตง  คนในท้องถิ่นเรียกว่า บือตง เป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่ในจังหวัดยะลา และตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศไทยห่างจากตัวเมืองยะลาประมาณ 140 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 1,220 กม.

ทำไมจึงอยากไปเบตง  นี่เลยไปตามคำขวัญ ค่ะ

" เมืองในหมอก ดอกไม้งาม ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน ”

ที่สำคัญ อยากทานไก่เบตง ต้องไปให้ถึงถิ่น

ทริป 4 วัน 3 คืน ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป แต่ได้สัมผัสกับหลากหลายบรรยากาศที่สุดฟินและโดนใจสุดสุด 

เริ่มออกเดินทางประมาณ 8 โมงเช้าจากจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรถยนต์ส่วนตัว ใช้เส้นทางสงขลา-นาทวี ขับรถเลียบชายทะเล ผ่านอำเภอหัวไทร ซึ่งเป็นที่ตั้งของของกังหันลมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 

เมื่อถึงเวลาต้องเลือก ขอเลือก เส้นทาง  "จะนะ ปัตตานี"

ถนนดี วิวทิวทัศน์สองข้างทาง สวยงามตลอดเส้นทาง

เลียบแนวชายฝั่งทะเลเป็นระยะๆ

และนี่คือ จังหวัดปัตตานี

ประมาณเที่ยงกว่าๆ ขอแวะไปกราบสักการะพระบรมรูปพระราชบิดา แห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์" สถาบันที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ตลอดระยะเวลา 4 ปี 

หลังจากขับรถวนรอบมหาวิทยาลัย ก็เดินทางต่อไปยังจุดหมายต่อไป ต.อัยเยอร์เวง 

ระหว่างทางก็จะมีด่านตรวจเป็นระยะๆ สร้างความอุ่นใจให้กับนักเดินทาง

ถึงแล้ว "ยะลา"  

จากตัวเมืองยะลา ไปเบตง ผ่านจุดท่องเที่ยวต่างๆมากมาย อาทิ 

สะพานยาว กม.38 ข้ามเขื่อนบางลาง 

เขื่อนบางลาง 

น้ำตกธารโต

และสถานที่ท่องเที่ยวตามแผนที่ซึ่งเริ่มต้นที่ กม.32

ขอขอบคุณแผนที่จากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรสำนักรักบ้านเกิดเบตง

ก่อนถึงกม.32 ทางซ้ายมือ มีสะพานข้ามคลองซึ่งมีป้ายบอกทางไปคูลแค้มปิ้ง รีสอร์ท แต่ขับไปได้สักพัก ทางค่อนข้างชัน ก็เลยวนรถกลับทางเดิม เมื่อออกถนนเส้นทางหลัก ขับรถต่อไปอีกนิดผ่านเส้นทางไปจุดชมวิวอัยเยอร์เวง จุดชมวิวฆูนุงซีลีปัต น้ำตกเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ก๋วยจั๊บแช่ขา ล่องแก่งอัยเยอร์เวง ซึ่งตั้งอยู่ประมาณ กม.22-32 จากที่ตั้งใจตอนแรกว่าควรหาที่พักคืนแรกใกล้ทางขึ้นจุดชมวิวอัยเยอร์เวง เพื่อดูพระอาทิตย์ตก และพระอาทิตย์ขึ้น โดยไม่ต้องเดินทางย้อนไปมา แต่มาถึงเร็วกว่าคาด และเห็นสมควรว่าไปนอนในอำเภอเบตงดีกว่า ก็ 30 กว่ากิโลยังไม่ค่ำ มีกิจกรรมให้ทำมากกว่า

ก่อนเข้าอำเภอเบตง มีเวลาเหลือ ไปเซอเวย์เส้นทางดูทะเลหมอกเช้าวันพรุ่งนี้กัน เลี้ยวขวาตรงกม.32 (มีป้ายบอก) เมื่อเจอสี่แยก ให้เลี้ยวขวา ไปประมาณ 2 กม. (ไม่มีป้ายบอก) **หากตรงไปจะเป็นทางเข้าหมู่บ้าน ธารมะลิ ที่นี่ก็มีโฮมสเตย์ให้บริการ

บรรยากาศยามบ่าย  จะเงียบๆ และอากาศค่อนข้างร้อน ตอนเย็นเปลี่ยนใม่ชมพระอาทิตย์ตกที่นี่แล้ว

มาถึงที่นี่ นึกถึงก๋วยจั๊บแช่ขา ซึ่งน่าจะอยู่ไม่ไกล โทรสอบถามเส้นทาง ปรากฎว่าต้องออกไปถนนเส้นหลักก่อน ผ่านสะพานแตปูซู  ร้านอยู่ฝั่งซ้ายมือ  เข้าไปในซอยประมาณ 500 ม.GPS พาหลง จนพนักงานร้านออกมารับ สุดยอด

ก๋วยจั๊บแช่ขา เข้าไปทางนี้ แต่คนละร้านกับก๋วยเตี๋ยวแช่ขา 

บรรยากาศดี เย็นสบาย ขนมจีนน้ำยาอร่อยมาก

ทั้งหมดนี้ 90 บาท

 เข้าเมืองเบตง เช็คอินที่ โฟโต้ โฮสเทล กันต่อ

และแล้วๆ สายตาก็เหลือบไปเห็นป้ายนี้ โทรสอบถามหาเพื่อนร่วมทริปกันเลย "วันนี้ยังไม่มีค่ะ" ปลายสายบอกมา 

ไม่เป็นไรพรุ่งนี้ยังมี วันนี้ เช็คอินเสร็จ เดินเล่นในเมืองเบตงชิลๆ หาอาหารอร่อยๆ ทาน พรุ่งนี้ลุย 2 เขาเลย

เลยโค้งนี้นิดเดียว ก็ถึงแล้ววววนะ เบตง

หอนาฬิกา ใจกลางเมืองเบตง

ถึงแล้วค่ะ โฟโต้ โฮสเทล ใกล้หอนาฬิกา สะอาด สะดวกสบาย พนักงานน่ารัก เจ้าของอัธยาศัยดี

เก็บสัมภาระเรียบร้อย เตรียมท่องราตรีกันเลย

เริ่มต้นที่หอนาฬิกา ตกแต่งโคมไฟช่วงเทศกาลตรุษจีน สวยงาม

ตู้ไปรษณีย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (ตู้เดิม) ใกล้หอนาฬิกา 

**ตอนนี้มีตู้ใหม่ ใหญ่กว่าเดิมอยู่บริเวณศาลาประชาคม ถนน สุขยางค์

อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ตอนเย็น

สตรีทอาร์ต มีรอบเมือง 

วนกลับมาที่หอนาฬิกา

นกนางแอ่นนับหมื่นเกาะบนสายไฟ

ตู้ไปรษีย์ยามค่ำคืน

ค่ำแล้ว หิวแล้ว มื้อนี้ต้องร้าน "ต้าเหยิน" ใกล้หอนาฬิกา

อาหารทั้งหมด 586 บาท

เมนูห้ามพลาด

ไก่สับเบตง กบภูเขา (สั่งเมนูผัดพริกแห้ง) ผักน้ำ (ผัดน้ำมันหอย) สั่งมากกว่านี้กลัวทานไม่หมด

หลังจากทานมื้อเย็นเสร็จก็เดินย่อยชมแสงสีในเมืองเบตงกันต่อ

อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ตอนค่ำ

สนามกีฬา กลางเมืองเบตง เป็นสนามกีฬากลางหุบเขา

ลักษณะเด่น เป็น สนามกีฬากลางหุบเขากว่า 120 ไร่, สวนสุขภาพและจุดชมทัศนียภาพที่สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของเมืองเบตงได้

สวนสาธารณะเทศบาลตำบลเบตง

พิพิธภัณฑ์เมืองเบตง ชั้นบนสุดจะมองเห็นวิวเมืองเบตงได้อย่างชัดเจน (ไม่ได้เข้าไปเพราะประตูปิด)

จบทริปวันที่ 1

นอนหลับพักผ่อน พรุ่งนี้ไปชมทะเลหมอกอัยเยอร์เวงกัน (ลุ้นกันว่าจะมีมั้ยนะคะ^__^)

วันที่ 2 อัยเยอร์เวง

https://th.readme.me/p/30490

วันที่ 3 ฆูนุงซีลีปัต

https://th.readme.me/p/30601

และ ไฮไลท์ในเมืองเบตง

https://th.readme.me/p/30635

Paikannaka

 วันพฤหัสที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เวลา 18.06 น.

ความคิดเห็น