เหนื่อยจัง อยากพัก ไปไหนดีน่าาา ??         

        ช่วงโควิคที่ผ่านมา หลายคนคงทำงานอยู่เเต่หน้าจอคอม ประชุมก็หน้าจอคอม นั่งนานมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ความเหนื่อยล้าจากการทำงานสะสมมานาน ทำให้ปวดตา ปวดหลัง ไปหมด                 

       เราจึงขอเเนะนำสถานที่น่าไป หลังประกาศยกเลิกเคอร์ฟิวแล้ว เพื่อการรีเซตตัวเองใหม่ รับพลังธรรมชาติ สูบอากาศใบหญ้า นาสีเขียว 

สถานที่นั้นก็คือ บ้านสวนเส จังหวัดชัยภูมิ ใครที่ชอบสไตล์ทุ่งๆ นาสีเขียว ได้ทำกับข้าวเองเเนะนำที่นี้เลย  

       

       เราเดินทางไปกันวันเสาร์ที่ผ่านมา ใช้เวลาเดินทางราวๆ 4 ชั่วโมงครึ่ง ทริปนี้ เราพาผู้ใหญ่มาเที่ยวด้วย รับรองว่าปลอดภัยเเน่นอน เรามาถึงบ้านสวนเสราวๆ 3 ทุ่ม พอดีออกจากกรุงเทพสายเเล้ว เเต่ไม่เป็นไร ค่อยเก็บภาพพรุ่งนี้เช้าอีกครั้ง 

        เมื่อไปถึงที่บ้านสวนเส พี่เสรีเเละพี่เปิ้ล เจ้าของบ้านผู้เเสนน่ารัก คอยอำนวยความสะดวกทุกอย่าง เเต่ก็เเอบอายนิดนึงที่ไปถึงช้า เกรงใจค่ะ ^^ เราได้ผัดกะเพราเนื้อทานกัน 

        

        หลังจากทานข้าวกันเสร็จ เราก็ล้อมวงนั่งพูดคุยกัน เป็นความอบอุ่นเเละมีไมตรีจิตที่ส่งถึงกัน ความรู้สึกนี้ คิดถึงมาก เพราะช่วง COVID-19 ที่ผ่านมา เราต้องห่างกัน เจอกันน้อยลง งดเดินทางเพื่อความปลอดภัย นี้เป็นทริปเเรกที่เดินทางหลังยกเลิกเคอร์ฟิว 

        แต่ก็ขอบคุณเชื้อโรคนี้ ที่ทำให้เราใส่ใจกับความสะอาดมากขึ้นค่ะ 

        เมื่อนั่งพูดคุยกันสักพัก ก็มองดูนาฬิกาอีกที อ่าวๆ จะ 5 ทุ่มเเล้ว รีบกลางเต้นท์ อาบน้ำนอน คืนนี้ฝันดี ที่นี้ไม่มีเเอร์นะ แต่รับลมธรรมชาติแทน อากาศที่นี้ไม่ร้อนมาก เเต่ก็มีพัดลมให้ค่ะ 

           

        สวัสดีเช้าวันใหม่ ^^

          

           ตื่นมาพร้อมเสียงไก่ เเละเสียงน้องหมา พอลืมตามาได้เห็นวิวทุ่งนา สวยเขียวขจีอยู่ตรงหน้า ตัดกับท้องฟ้าที่สดใส ทำให้เรายืนมองวิวที่อยู่ตรงหน้าอยู่นาน เพื่อเก็บบรรยากาศนี้ไว้ แสงเเรกของวันรับวิตามินเต็มๆ เป็นเช้าที่สดชื่นมากกกกกกกกก

            ลมเเละกลิ่นทุ่งนาที่พัดเข้ามาปะทะหน้า ทำให้ความเหนื่อยล้าหายหมดสิ้น เหมาะเเก่การรับพลังธรรมชาติเป็นที่สุด 

เวลา 7 โมงเช้า ได้มีเวลาเดินชมบ้านสักที เริ่มเลยล่ะกัน.......

      บ้านสวนเสของพี่เสรี มีเเนวคิดการสร้างที่ยึดตามหลักเเนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง ร.9 ทำให้การใช้พื้นที่เป็นเเบบ 30 : 30 : 30 : 10 

        พื้นที่ 30% เเรก ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นพื้นที่สำหรับปลูกผักสวนครัว ปลูกข้าว 

        พื้นที่ 30% ที่สอง เป็นสระกักเก็บน้ำ 

        พื้นที่ 30% ที่สาม เป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์เช่น ไก่ เเละเลี้ยงปลา           

        พื้นที่ 10% สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย 

เห็นได้จากภาพวาดที่ติดอยู่ที่ผนังห้องน้ำด้านนอก  

เป็นภาพจำลองพื้นที่ทั้งหมดได้อย่างสวยงามเเละเข้าใจง่าย 

      

       การไปเที่ยวครั้งนี้ ได้รับเเนวคิดและความคิดดีๆ มากมาย พี่เสอธิบายและเเบ่งปันความรู้อย่างเป็นกันเอง หากใครสนใจก็ไปเที่ยวกันได้ เเต่โทรไปก่อนนะ ที่อยู่ติดต่อแปะไว้ด้านล่างสุด

       ถัดมาเป็นส่วนพื้นที่ครัว ที่เมื่อวานเรามาถึงดึก รีบๆทำกับข้าว จึงไม่ได้เก็บภาพไว้ เช้านี้ต้องชัตเตอร์ซะหน่อย

      พื้นที่โดยรวม ออกเเบบ ให้ เรียบง่าย สะดวก เเละกว้างขวาง 

      ที่บ้านสวนเส เราสามารถใช้ถ่านทำอาหารได้เอง มี 2 เตา เลือกใช้ได้ตามใจเลย 

       เขาว่าอาหารที่ใช้เตาถ่านก่อไฟ อาหารจะหอมอร่อย น่าทาน อันนี้คอนเฟิร์มเเน่นอนค่ะ ใครไม่เชื่อต้องมาลองเองล่ะ 

      สำหรับท่านใดที่จุดไฟเเบบนี้ไม่เป็นก็ไม่ต้องตกใจ พี่เสรีเตรียมเตาสนามให้ สีเเดงๆ เห็นไหมน่ะ ^^

เเม่พร ลงมือทำอาหารเช้าเเบบสไตล์เกาะสมุย อร่อยเหาะแล้วววววว 555

      และพื้นที่ล้างจาน ก็อยู่อีกด้านของพื้นที่ปรุงอาหาร โดยมีไม้กั้นเเบ่งเป็นสัดส่วน 

น้ำที่นี้ไหลเเรง สามารถล้างได้อย่างเต็มที่เลย 

        

       ถัดจากครัว ก็จะเป็นห้องน้ำแสนน่ารักขนาดกะทัดรัด ที่นี้แยกส่วนห้องอาบน้ำและห้องส้วมออกจากกัน เพื่อความสะดวกของผู้ใช้ ด้านหน้ามีป้ายให้ความรู้เรื่อง ป่า 5 ระดับ และหลักกสิกรรมธรรมชาติว่าด้วยเรื่องการดูเเลดินอย่างไรเพื่อให้ผลผลิตเจริญงอกงาม 

      เราก็อ่านไป ล้างหน้าไป เพลินๆ 


      บ้านสวนเสแห่งนี้ มีภาพวาดอันเป็นเอกลักษณ์นั้นก็คือ ชายอาบโอ่งกลางทุ่ง 

อย่าลืมนุ่งผ้าออกมา แล้วจัดท่าโพสต์คู่กัน รับรองว่าเด็ดเเน่นอน ^^

มาเเล้วก็ อย่าลืมอาบน้ำโอ่ง ไม่งั้นเหมือนมาไม่ถึง...

น้ำที่นี้ใสสะอาด เย็นชื่นใจ หายง่วงเลยค่ะ 

       พื้นที่ถัดมาคือตัวบ้าน เป็นบ้านที่มีใต้ถุน แม้เนื้อที่จะไม่ใหญ่มาก แต่ก็ให้ความอบอุ่นใจ เหมือนบ้านของเราเอง ภายในบ้านจะมีฟูกนอน ผ้าห่ม หมอน มุ้ง และพัดลมครบ

       หากใครที่อยากนอนด้านนอกห้อง ก็สามารถนำเต้นท์มากางนอนได้อย่างสบาย 


ด้านใต้ถุนบ้าน มีเครื่องเก็บพลังงานจากแผ่นโซล่าเซลล์ ที่ผลิตไฟใช้เองจากแสงอาทิตย์ 

ที่เก็บเอาพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงกลางวัน เพื่อไปใช้ในยามค่ำคืน ชีวิตอย่างนี้สิน่ะ คือหลักความพอเพียง พี่เสรีหัวคิดดีจริง

         อีกจุดนึงที่สามารถกางเปลนอนได้ รับลมเย็นสบาย ก็คือ ศาลาพักใจ 555 

ศาลาข้างๆ บ้าน ภาพด้านล่างนี้เลย 

เมื่อมองจากมุมไกล บ้านขาวคือโคตรเด่น เห็นชัด จุดเด่นของบ้านพี่เสเขาล่ะ 

มันยังเด่นไม่พอ ไกลกว่านี้หน่อยยยย......... 

เอาไปอีก 1 รูป พร้อมทางเข้าบ้าน

ในส่วนพื้นที่อื่นของบ้านก็น่าสนใจไม่เเพ้กัน "ที่นั่งริมสระ" 

ส่วนตัวชอบพื้นที่บริเวณนี้มาก ศาลาแห่งนี้ทำด้วยไม้ สร้างอยู่ติดกับสระเลี้ยงปลาของพี่เส ใครที่ชอบตกปลา ก็เอาอุปกรณ์ไปได้ ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่หนุ่มๆชอบ 

ตกปลาดุกได้ จับย่างซะเลย 5555 

และมีชิงช้านั่ง ถ่ายรูปรัวๆๆ 

ข้างๆก็มีสะพานข้ามเล็กๆ มีดอกบัวให้ชมเพลินตา 

บ้านพี่เส ไม่ได้มีเเค่กิจกรรมตกปลาอย่างเดียว เเต่ยังมีกิจกรรม "เก็บไข่" 5555 

กิจกรรมน่ารักสำหรับผู้หญิงอย่างเรา 

เดินเข้าเล้าไก่ตรงๆไปเลย

น้องไก่ที่นี้อวบอ้วน สมบูรณ์ ขนสวย เพราะพี่เสให้กินดอกอัญชันเป็นอาหารเสริมทุกวัน 

วันนี้น้องๆคลอดมาได้........... 5 ฟอง น่าร๊ากกกก ขอกอด 1ที 

ตั้งน้ำมันรอทอดเลย

หัวผู้เขียนในรูปจะยุ่งๆหน่อย เพิ่งตื่น ^^  คิ้วก็ไม่มี เห้ย.....ปวดใจ 

ช่วง 10 โมงเช้า หลังทานข้าวเสร็จ ก็ขอยืม "รถมอไซด์โซล่า" ขับเล่นก่อนอาบน้ำเตรียมตัวกลับกรุงเทพ 

รถมอไซด์คันนี้ใช้พลังงานโซล่าแสงอาทิตย์ล้วนๆ 


............ชีวิตคนเรานั้น ไม่ต้องการสิ่งใดมากมายไปกว่าปัจจัยสี่.............ทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้วิถีชีวิตแบบพอเพียง สุขและสงบอย่างยั่งยืน ชีวิตที่หลีกหนีจากความวุ่นวายในเมืองหลวง

 มาที่นี้เเล้ว เหมือนคุณได้มา Work shop ชีวิต ได้ให้อาหารไก่ เก็บไข่ ปลูกผัก ตกปลากิน 

มาเพิ่มพลังใจพลังกายกันเถอะ มาสูดอากาศเต็มปอด ฟังเสียงนก มองผีเสื้อที่บินผ่านท้องนา 

สำหรับใครที่สนใจอยากมาพักที่บ้านสวนเส จังหวัดชัยภูมิ 

เข้าไปกดไลด์เพจพี่เสรีและทักพูดคุยก่อนมาได้เลยที่ : บ้านสวนเส Organic Farm Stay

(https://www.facebook.com/BaanSuanSe/)

พี่เสรีเองคับ ^^ แล้วเจอกัน 



ปิดท้ายรีวิวด้วย

ผู้อารักษ์ 4 ขาของบ้านพี่เส เจ้ามอมเเละผองเพื่อน เเต่ถ่ายมาไม่หมด ซุกซนเหลือเกิน

 น้องๆน่ารักมาก มักจะคอยเห่าสิ่งที่เรามองไม่เห็นอยู่เรื่อยๆ 55555+ ล้อเล่นน่าา 

MonLuna

 วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 22.19 น.

ความคิดเห็น