คลิปวิดีโอ  เที่ยวน่านย่านเมืองเก่า | คนเดียวแบบไม่มีรถ | 2 วัน 1 คืน

►►►►►►►►►►►►►►►►►►►►►


ผมเดินทางจากสนามบินดอนเมือง มาลงที่สนามบิน จ.น่าน


เมื่อมาถึงสนามบิน เราต้องมากรอกประวัติ ประเมิณความเสี่ยง จากโรคโควิด

จากนั้นก็หารถสองแถว เพื่อมุ่งหน้าไปยังที่พัก

ผมมาไม่ทันรถสองแถว 

ก็เลยไปรอรถสองแถวหน้าทางเข้าสนามบิน เผื่อว่าจะมีรถผ่าน

บังเอิญว่าวินมอไซค์ผ่านมาพอดี 

ผมก็เลยคิด ว่านั่งไปเลยหละกัน จะได้ไม่เสียเวลา

จากสนามบิน มาที่ที่โรงแรม

ใช้เวลาประมาณ 15 นาที ค่าวิน 50 บาท

ผมพักที่โรงแรม น่านนครา บูติก

ซึ่งโรงแรมที่อยู่ใจกลางย่านเมืองเก่า


ที่มีตึกสีขาวล้วน เรียบง่าย สบายตา ที่อยู่ใจกลางเมืองน่าน

เริ่มต้นที่ 1,800 บาท 

โทรศัพท์ : 093-284-2707 , 054-711-153

ผมมาเช็คอิน เก็บสัมภาระเสร็จแล้ว 

จากนั้นก็มุ่งหน้าไปที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จ.น่าน ที่อยู่ตรงข้ามวัดภูมินทร์ 

เพื่อจะนั่งรถรางชมความสวยงามของนอบๆเมืองเก่าน่าน

  • บุคคลทั่วไป ราคา 30 บาท / คน
  • เด็ก ( อายุไม่เกิน 12 ปี ) ราคา 15 บาท / คน
  • ผู้สูงอายุ ( 60 ปีขึ้นไป ) ราคา 15 บาท / คน

รถรางชมเมืองเก่าน่านเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่อยากแนะนำทุกท่านได้

และมีไกด์ท้องถิ่นคอยบรรยายประวัติแต่ละสถานที่อีกด้วย

เส้นทางที่รถรางผ่านจะเป็นย่านเมืองเก่า

มีโบราณสถาน อาคารบ้านเรือนในสมัยก่อน วัดต่างๆ 

ใช้เวลาเดินทางท่องเที่ยวในเส้นทาง 45-60 นาที 

                                                   และแวะจอดแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน
                                                         จำนวน 2 จุดๆละ 10 นาที
                                       โดยมีเจ้าหน้าที่บรรยายบนรถรางตลอดเส้นทาง


ในรอบนี้ รถรางแวะจอดที่วัดศรีพันต้น เป็นจุดแรก

วัดศรีพันต้น

เป็นวัดสีทองอร่ามเก่าแก่ โดยภายในวัดจะมีวิหารที่สวยงดงาม มีสีทองระยิบระยับเป็นประกาย 

โดยเฉพาะพญานาคเจ็ดเศียรสีทองเหลืองอร่าม ที่เฝ้าบันไดด้านหน้าวิหาร

จุดที่สอง ที่นี่คือวัดสวนตาล


เป็นวัดเก่าแก่ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองน่านมาร่วม 600 ปี


สร้างขึ้นในสมัยพระนางปทุมมาวดีชายาของพญาภูเข็ง

เจ้าผู้ครองนครน่านเมื่อราวปี พ.ศ.1955

เมื่อนั่งรถรางชมเมืองเก่าเสร็จแล้ว


ผมเดินทางศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ไปไหว้ศาลหลักเมืองน่าน ในวัดมิ่งเมือง


เป็นวัดชื่อดังและเป็นที่ตั้งของ เสาพระหลักเมืองน่าน อีกด้วย

จากนั้นในช่วงเที่ยง ผมเดินมาที่ร้าน ข้าวซอยต้นน้ำ


เป็นร้านที่อยู่คู่เมืองน่าน มามากกว่า 30 ปี ตั้งอยู่ใกล้กับวัดมิ่งเมือง

เมื่อกินจนอิ่มแล้ว ผมก็เดินไปที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

เป็นอาคารแบบยุโรปซึ่งเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 5 

ที่ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองน่าน

ห้องจัดแสดงงาช้างดำ 

ซึ่งเป็นสมบัติล้ำค่าคู่บ้านคู่เมืองน่านมาตั้งแต่โบราณงาช้างดำ

และอีกหนึ่งไฮไลท์ของที่นี่ คือซุ้มต้นลีลาวดี หรือต้นลั่นทม

บริเวณหน้าพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ 

เป็นต้นไม้ที่ขึ้นแถวเรียงราย 2 ข้างทางเดิน

จากนั้นผมก็เดินที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร 

ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์


วัดแห่งนี้สร้างขึ้นโดยพญาภูเข่ง 

เจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน มีอายุมากกว่า 600 ปี

ซึ่งประกอบด้วยวิหารขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบล้านนาไทย 

ภายในวัดประดิษาน เจดีย์ช้างค้ำ ซึ่งเป็นศิลปะสมัยสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20

จากนั้นผมเดินกลับไปที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

เพื่อสอบถามข้อมูลเส้นทางปั่นจักรยานในรอบๆเขตเมือง

ก่อนจะยืมจักรยานจากที่พัก เพื่อไปปั่นในยามเย็น

เพื่อนๆท่านใดสนใจอยากปั่นจักรยาน 

สามารถมาเช่าจักรยานได้ที่ศูนย์ล่องน่าน

บริการรถเช่าจักรยานที่อยู่ตรงข้ามศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

จะว่าไปแล้ว การขี่จักรยานเนี่ย 

เป็นการเดินทางที่เหมาะกับเมืองน่าน 

เพราะทางจังหวัดมีการรณรงค์ให้ประชาชนขี่จักรยาน

แถมมีกล้องวงจรปิดตลอดสี่แยกเส้นไฟแดง 

ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและมั่นใจทางในการปั่นจักรยานอีกด้วย

ผมปั่นจักรยาน มาที่กำแพงเมืองเก่าน่าน

กำแพงเมืองน่าน เป็นแนวกำแพงที่ปรากฎให้เห็นในปัจจุบัน

ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๙๘

ในช่วงเย็นผมไปกินข้าวที่ร้านปุ้มสาม

เป็นร้านข้าวต้มชื่อดังคู่จังหวัดน่าน

เปิดตั้งแต่ประมาณ 5 โมงเย็นไปจนถึงดึก 

ใครที่จะมากินร้านนี้ ผมแนะนำให้มาต้งแต่ตอนร้านเปิดเลย

เพราะถ้ามาจากกว่านี้โต๊ะเต็มแน่นอน

หลังจากกินเสร็จแล้ว 

ผมก็ปั่นจักยานกลับพร้อมชมแสงไฟตลอดเส้นทาง

บริเวณรอบๆย่านเมืองเก่า

ช่วงค่ำ ผมมาที่ถนนคนเดิน

ที่ตั้งอยู่ข้างวัดภูมินทร์ 

ถนนคนเดินเปิดเฉพาะวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ตั้งแต่ห้าโมง ถึงประมาณสี่ทุ่ม

นอกจากนี้ยังมี บริการนวด เพื่อสุขภาพ 

หลังจากที่ผมเดินและปั่นจักยาน มาทั้งวัน 

ผมก็ไม่รอช้าที่จะไปใช้บริการที่นี่ อยู่หน้าลานศูนย์บริการนักท่องเที่ยว


แล้วผมก็กลับยังที่พัก น่านนครา

วันที่สอง


น่านนครา เป็นโรงแรมสามารถเดินไปเที่ยวรอบๆเมืองเก่าน่านได้สะดวกมากๆ



(สำหรับห้องอาหาร จะเริ่มบริการตั้งแต่เวลา 07.30 - 10.00 น.)

(โรงแรมน่านนครมีจักรยานให้ยืมปั่นเที่ยวได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย)

วันที่ 2

ผมมีแพลนที่จะไปที่ ร้านขนมหวานยายภรณ์ บ้านโฮงเจ้าฟองคำ และวัดภูมินทร์ปิดท้าย 

ก่อนที่จะกลับไปสนามบิน น่าน

ร้านขนมหวานยายภรณ์

ที่นี่บรรยากาศร้านจะเป็นใต้ถุนบ้านไม้โล่งๆ 

นั่งกินกันบนโต๊ะไม้รอบๆ

ผมเลือกกินข้าวเหนียวดำ ซึ่งเป็นเมนูเด็ดของร้านนี้

ในระหว่างทางที่ผมกำลังปั่นไป บ้านโฮงเจ้าฟองคำ

ผมได้ผ่านตึกๆนึง ที่มีอาคารสไตล์แนวตะวันตก 

และปรับแบบบางส่วนให้เข้ากับสภาพอากาศเมืองร้อนของไทย 

เป็นตึกสีม่วงๆ

ตึกนี้มีชื่อว่า รังสีเกษม

เป็นตึกที่อยู่ภายในรั้วโรงเรียนคริสเตียนฝั่งประถมศึกษา

ก่อตั้งขึ้นราวๆ ปีพ.ศ. 2458


ปัจจุบันตึกรังษีเกษม ได้ถูดดัดแปลงเป็นอาคาร

หอประวัติศาสตร์ จัดแสดงโบราณวัตถุ

ตลอดจนภาพถ่ายเมืองน่านในอดีตกว่า 1000 ภาพ

จากนั้นผมก็ปั่นเดินไปบ้านโฮงเจ้าฟองคำ

(บ้านโฮงเจ้าฟองคำ) 

เป็นบ้านเก่าอายุเกือบ200ปี

คำว่า “ โฮง ” เป็นคำพื้นเมืองล้านนา หมายถึง คุ้ม หรือที่อยู่อาศัยของเจ้านายล้านนาไท

สร้างจากไม้สักหลังใหญ่สไตล์ล้านนา

เป็นบ้านของเจ้าฟองคำ ที่มีเชื้อสายของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชเจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 62 

ส่วนพื้นที่ชั้นล่างเป็นใต้ถุนโล่ง ที่ใช้สำหรับสาธิตการทอผ้า ตั้งกี่ทอผ้า 

และจำหน่ายผ้าพื้นเมืองที่ทอที่บ้านหลังนี้

เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 09.00 – 17.00 น. หยุดทุกวัน จันทร์ และอังคาร

หลังจากนั้นผมก็เดินทางกลับมาเช็คเอ้าที่พัก


แล้วเดินไปที่วัดภูมินทร์

วัดภูมินทร์เดิมชื่อว่า วัดพรหมมินทร์

ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังอายุร้อยกว่าปี

ฝีมือจิตรกรชาวไทลื้อ หนึ่งในนั้นคือภาพปู่ม่านย่าม่าน

หรือที่หลายๆ คนรู้จักกันในนามภาพ “กระซิบรักบันลือโลก”

จริงๆแล้วทางโรงแรมมีบริการรถรับ-ส่งฟรี ไป-กลับ 

ที่พัก-สนามบินแต่ผมรู้สึก อยากอุดหนุนคุนลุงที่ส่งผมเมื่อวานนี้

สุดท้ายนี้ก็อย่าลืมมาแวะเที่ยวในเขตย่านเมืองน่าน ก่อนซักครั้ง


ไม่ว่าจะก่อนไปหรือกลับมา จากสถานที่อื่นๆ 

หรือจะลองมาใช้ชีวิตช้าๆในเมืองน่าน 2วัน1คืน กันดูนะครับ

แล้วพบกันใหม่ในทริปหน้า

สำหรับวันนี้สวัสดีครับผม



ฝากติดตามเพจด้วยครับ

facebook fanpage : https://goo.gl/Fumgyi [ยิ้มแบกเป้เที่ยว]

YouTube ►► https://bit.ly/2yFR22w


ยิ้มแบกเป้เที่ยว RoamingYim

 วันพฤหัสที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13.06 น.

ความคิดเห็น