สวัสดีครับ พบกันอีกครั้ง กับTummeng Travelนะครับ ฉบับนี้ เป็นฉบับที่ 4 ของปีนี้แล้วนะครับ



ช่วงนี้อาจเจอกันบ่อยนิดนึง เพราะ ช่วงที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสเดินทางท่องเที่ยวบ่อยมากครับ



วันนี้จะพาขึ้นเหนือ ไปยังจังหวัดเชียงรายอีกครั้ง หนึ่ง ครับ หลัง กระทู้ที่แล้ว http://pantip.com/topic/33140986



ผมพาไปพบกับ ดอกนางพญาเสือโคร่งบาน และ แหล่งท่องเที่ยวใหม่ ของ เชียงราย



วันนี้ จะพา ทุกท่าน ไปพบกับ เส้นทางสายดอกไม้อีกเส้นทางหนึ่งของเชียงราย ครับ เพื่อชม ความงามของ ดอกเสี๊ยว บานสพรั่ง เต็มยอดดอย



อาบภูเขาให้เป็น สีขาว สดใส ตัดกับ สีฟ้าของท้องฟ้า ในงาน เทศกาลดอกเสี๊ยวบาน ตระกานตาที่ภูชี้ฟ้า



จะสวยมากน้อยแค่ใหน โปรดติดตามได้ ครับ



#################################################



SR = สนับสนุนการเดินทางจาก ททท เชียงราย



################################################



ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชมรีวิวนี้ หากไม่เป็นการรบกวน ทิ้งข้อความทักทาย แนะนำ ติชม กันไว้ได้นะครับ



หรือหากท่านใดสนใจ พูดคุยทักทาย ติดตามข่าวสารการเดินทางของผม หรือร่วมเล่นเกมส์สามารถติดตามได้ที่



https://www.facebook.com/TummengMagazine

หากพูดถึง เทศกาล หรือ ฤดู ที่ดอกไม้ป่า หรือดอกไม้ภูเขา บาน สวยๆ คงไม่มีใครปฏิเสธ ความสวยของ ดอกนางพญาเสือโคร่ง บาน ในฤดุหนาวเป็นแน่ แต่ความสวยนั้นต้องแลกกับ ผู้คนจำนวนมหาศาล ที่เดินทางไปชมความงามนั้นเช่นกัน



แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า หลังจากที่ ดอกนางพญาเสือโคร่งบาน แล้ว ประมาณ 1 เดือน จะมีดอกไม้ป่า ชนิดหนึ่ง บานตามหลังมา ซึ่งมีความสวยงามไม่แพ้กัน เพียงแต่ว่า เป็นการบาน ถูกที่ผิดเวลา เท่านั้นเอง

ในช่วง กลางเดือน กุมภาพันธ์ ถึง กลางเดือนมีนาคม ที่ ภูชี้ฟ้า จะมีเทศกาล ของท้องถิ่น ที่จัดกันมาหลายปีแล้ว ชื่อว่า เทศกาลดอกเสี๊ยวบาน



ซึ่งจัดขึ้นที่ลานของหมู่บ้าน ตับเต่า ต.ตับเต่า อ.เทิง จ.เชียงราย เป็นงานลักษณะคล้ายๆจะเฉลิมฉลอง ดอกไม้บาน บวกกับ งานรวมญาติ ของชนเผ่า ต่างๆ ที่อาศัยอยู่บน เขตดอยผาหม่น ผาตั้ง ภูชี้ฟ้า



หลังจากที่ คนในท้องถิ่นนี้ ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากหลากหลายภูมิภาค ที่มาชมความงามทางะรรมชาติ ของ ภูชี้ฟ้า หลักหมื่นหลักแสนคน



เทศกาลดอกเสี๊ยวบาน ก้เป้นการต้อนรับ ญาติพี่น้อง ที่ กระจายตัวกันไปอยู่ตามที่ต่างๆ ของประเทศ เพื่อให้มีโอกาสมาเจอกันสักครั้ง



ในงานจะมีการแสดงการละเล่นของชนเผ่าต่างๆ มีการแต่งกาย ด้วยชุดประจำเผ่าให้สวยงาม มีการออกร้านขายของต่างๆ มากมาย มีการแสดงนิทัศการ ของภคส่วนต่างๆ

ชนเผ่าหลักๆ ที่อยู่บนดอยผาหม่นนี้ ได้แก่ ม๊ง เมี่ยนจีน ไทลื้อ มูเซอ



ในช่วงงาน ตลอด 3-5 วันที่จัด จะเห้น การแต่งกายด้วยเสื้อผ้า สีสัน สวยงาม ประจำเผ่าต่างๆ เดินกันขวักไขว่

เรียกว่าเป็นการ งัดความสวยออกมาโชว์ ชุดบางชุด ที่ใส่ เหล่านี้ มีราคา หลักพัน ถึงหลักหมื่นเลยที่เดียว


ใส่กันแทบทุกคนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่


งานมักจะจัดขึ้น ตรง หรือ ไกล้เคียง กัย วันวาเลนไทน์



ทำไมถึงจัดช่วงนี้ ก็เพราะ ช่วงนี้ ที่ เทือกเขาดอยผาหม่น ซึ่งเป้นปหล่งที่ตั้ง จุดท่องเที่ยว สำคัญใหญ่ๆ คือ ภูชี้ฟ้า กับ ผาตั้ง



จะมีดอกไม้ชนิดหนึ่ง คือ เสี้ยวดอกขาว[1] ชื่อวิทยาศาสตร์: Bauhinia variegata (ภาษากะเหรี่ยง: โพะเพ่; ภาษาฮินดี:कचनार, ภาษาสันสกฤต: कोविदार ภาษาอูรดู: کچنار) เป็นพืชมีดอกชนิดหนึ่งในวงศ์ Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชีย แพร่กระจายในจีนไปจนถึงปากีสถานและอินเดีย ชื่อสามัญอื่นๆ ได้แก่ กล้วยไม้ต้น (Orchid tree) ต้นเท้าอูฐ (Camel's Foot Tree) และ Mountain-ebony Kachnar (ภาษาฮินดีภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู) หรือ Kanchan(ภาษาเบงกาลี) ในจังหวัดปัญจาบของปากีสถาน เรียกพืชนี้ว่า Kolaar کلاڑ ซึ่งต่างจากชื่อในภาษาอูรดู

ดอกเสียวขาว

ไม้ต้นผลัดใบ สูงถึง 15 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับ รูปไข่ กว้างถึงค่อนข้างกลมลักษณะเป็น 2 พู เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-18 ซม. ปลายเว้าลึก โคนเว้ารูปหัวใจ เส้นใบออกจากโคนใบ ดอก สีขาวกลีบตั้งมีเส้นริ้วในสีเหลืองแดงชัดเจน มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อสั้นตามกิ่งจำนวนดอกน้อย กลีบดอก 5 กลีบ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 7-12 ซม. ยาว 20-30 ซม. ฝัก แก่แตกได้มี 10-25เมตร



หรือคนแถวนี้เรียกว่า ดอกเสี๊ยว ซึ่งจะบาน ประมาณ กลางเดือน กพ.ถึง กลางเดือน มีค.



เป็นไม้ปลูกประดับสองข้างทางได้ดี เปลือกมีสารฝาด tannin ใช้ย้อมแห อวนให้คงทน ใบอ่อนและฝักอ่อนเป็นอาหารได้

หากใครมาช่วง พีคๆ ดอกเสี๊ยวสีขาว แทบจะย้อมภูเขาสีเขียวบริเวณนี้ ให้กลายเป้นสีขาวสดใส


น่าเสียดายตรงที่ดอกไม้ สวยๆ ขนาดนี้ มาบานในช่วงหน้าร้อน ซึ่งเป้นช่วงที่ผู้คนไม่นิยมเที่ยว ภูเขา หรือ ทางภาคเหนือกันแล้ว


แต่ในความโชคไม่ดี ก้อาจเป็นโอกาส สำหรับคนที่ ไม่ชอบเที่ยว ในช่วงที่คนเยอะๆ สามารถ มาชมความงามของดอกเสี๊ยว และ ความงามตามะรรมชาติ ของ ภุชี้ฟ้า และผาตั้ง


ดังนั้นหากใครต้องการชมความงามของดอกเสี๊ยวบาน ต้องเดินทาง มา ช่วง กพมีนา



แล้วขับรถ ตามเส้นทางท่องเที่ยว ดอยผาตั้ง และภูชี้ฟ้า จะเห็น สองข้างทาง เต็มไปด้วยดอกเสี๊ยวบาน

ครั้งนี้ก้เช่นกัน ผมได้มีโอกาส พาเพื่อน บล๊อกเกอร์ คนนึง และ ตากล้อง คนนึง เดินทาง มาชมความงามของดอกเสี๊ยว โดยเริ่มต้นจากการไปชม พระอาทิตยืขึ้น ที่จุดชมวิว 102 ของดอยผาตั้ง


ช่วงที่ผมไปนั้นเป้นช่วง เกือบจะปลายเดือน กพ แล้ว โชคเราไม่ค่อยดีนัก แม่อากาศ จะยังหนาวเย็นอยู่ แต่วันนั้น ความชื้นของอากาศมีน้อย จึงทำให้ ไม่ค่อยมีทะเลหมอกมากนัก แถมยังมีเมห ฟุ้งลอยอยู่จนแทบมองไม่เห้นพระอาทิตย์


ผมและเพื่อน ไปถึงเป้นกลุ่มแรก ทำให้บนยอดดอยวันนั้น มีเพียงกลุ่มผม 3 และมีนักท่องเที่ยวจากเกาหลี 1 คน ในตอนแรก


ไม่นานนักก็มี คู่ หนุ่มสาว เพิ่มมาอีกหนึ่งคู่ รวมทั้งหมด วันนั้น มีแค่ 6 คน บนยอดเนิน 102 ซึ่งเป้นโอกาส ที่ดี ที่เราจะได้ เก็บ บรรยากาศ ซึมซับความสวยงาม ได้อย่างเต็มที่ ถึงแม้ โชคจะไม่ค่อยเข้าข้างเรา เท่าไหร่นัก



ใครอยากถ่ายรูปก็ถ่ายไปไม่เกะกะใคร



ใครอยากจะยืนเหม่อมอง ธรรมชาติก้ทำไป ไม่มีใครมาบังความสวยงาม



หรือแม้แต่ อยากจะนั่งเฉยๆ ชมความงามที่เห้นอยู่เบื้องหน้า ก้ไม่มีใครมารบกวน ซึ่งนี่คือข้อดีของการเที่ยว นอกช่วงเทศกาล

หลังจากชมพระอาทิตยืขึ้นเรียบร้อยแล้ว เราก้ออกเดินทางจาก ดอยผาตั้ง วิ่งลัดเลาะภูเขา ไปอีกประมาณ 25 กิโล เพื่อไปยังภูชี้ฟ้า



แต่สองข้างทาง ที่เราเจอ นอกจาก จะมีดอกเสี๊ยว แล้ว

เรายังเจอความสวยงามของสิ่งต่างๆ แม้กระทั้ง ดอกงิ้ว จากต้นงิ้วขนากใหญ่ ที่อยู่ข้างทาง ก้ยังสามารถดึงดูให้พวกเรา ลงไปเก็บภาพ ความสวยงาม บันทึกเป็นเรื่องราวระหว่างทางไว้อีกด้วย


ต้นงิ้วซึ่งปัจจุบัน หาดุได้ยากแล้ว กลับมีให้เห้นที่นี่โดยไม่คาดคิด



อย่างที่เคยได้ยินกันว่าหากเราเปรียบการเดินทางเหมือนหนังสือเล่มหนึ่ง จุดหมายปลายทางก็คือ ชื่อเรื่อง ดังนั้น เรื่องราวระหว่างเดินทางก็คงเป็น เนื้อหาที่ทำให้หนังสือเล่มนั้น สมบรูณ ขึ้น

เราใช้เวลาไม่นานนัก ประมาณ 1 ชั่วโมง จากดอยผาตั้ง มายังภูชี้ฟ้า ในช่วงเวลาสายๆ



หากใครอยากเก้บภาพภูชี้ฟ้า ในช่วงเช้ามืด ก้แนะนำให้หาที่พัก บริเวณนั้นสักคืน แล้วปีนป่ายขึ้นไปดูบรรยากาศยามเช้าอีกที



แต่กลุ่มของเรา ไม่มีเวลาพอขนาดนั้น เลยได้แต่เก้บความงามยามสาบๆ แบบไร้ผู้คนบนภูชี้ฟ้า แล้วออกเดินทางต่อ โดยขับรถลงมา ทางบ้านฮวก เพื่อแวะไปทานข้าว ที่น้ำตกภูซางซึ่งเป้นน้ำตกที่อยู่ริมถนน ในระยะแค่ 100 เมตรเท่านั้น แถมยังเป้นน้ำตกที่มีกระแสน้ำเป้นน้ำอุ่น ตกลงมาใส่ลำธาร น้ำเย็นด้านล่างอีกต่างหาก

ตรงนี้จะเป้นจุดแวะพัก ระหว่างทางมีร้านอาหารตามสั่ง ร้านส้มตำ ขายสำหรับบางคนที่อยากมาเปลี่ยนบรรยากาศ



หากท่านยังพอมีเรียวแรง สามารถ เดินขึ้นไปชม ตาน้ำ หรือ แหล่งกำเนิดน้ำตก แห่งนี้ ที่เป้นบ่อน้ำพุร้อนได้ ระยะทางเดิน ประมาณ 700 เมตร


ผมเคยมาที่นี่เมื่อนานมาแล้ว และยังเคยลงไปเล่นน้ำตกอุ่น และลำธารข้างล่างด้วย สมัยเป็นนักเรียนมัธถยม


ออกจากน้ำตกภูซางพวกผมแวะ เข้าชม แหล่งท่องเที่ยว ด้าน วัฒนธรรม และ วิถีชีวิต ของชาวไทลื้อ ที่ อ.เชียงคำ จ.พะเยา ซึ่งเป้นทางผ่านพอดี



ผมแวะที่ บ้านยายแสงดาวที่นี่เป็นศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ ที่ค่อนข้างสมบูรณ์



มีทั้งบ้านเรือนไทลื้อแบบโบราณ และการทอผ้าฝ้าย ลวดลายแบบไทลื้อ



ที่นี่ปลูกฝ้ายเอง เพื่อนำมา ทอเป็นผ้าฝ้ายที่ใส่กันอยู่ทุกวัน


และนอกจากจะอนุรักษ์วัฒนธรรมไทลื้อ ยังเผยแพร่ ให้คนรุ่นหลังได้เข้ามาสืบสานต่อไปอีกด้วย


ตกบ่าย พวกผม ได้ มีโอกาสแวะ แหล่งท่องเที่ยวอีกที่หนึ่ง ซึ่ง เพิ่งเปิดได้ไม่นานนัก ประมาณ สอง ปี คือ ไร่แสนคำรัก



เป้นไร่เอกชน ที่ปลูกดอกไม้นานาพันธ์ และทำเป็นทุ่งดอกทานตะวัน แต่เสียดายที่พวกผมมาช้าไป ทุ่งดอกทานตะวัน เพิ่งโดนไถกลบไปไม่กี่วัน และกำลังเริ่ม หว่านเมล็ดใหม่ เพื่อรออีกประมาณ 60 วัน จึงจะเหลืองอร่ามเต็มพื้นที่อีกครั้ง


แต่กระนั้น ที่นี่ก้ยังมี ดอกไม้สีสันสวยงามให้ชม และยังมี ร้านกาแฟ และ ร้านอาหาร แนวร้านเสต๊ก คอยบริการนักท่องเที่ยว ที่ผ่านมาผ่านไปแถวนี้


เราอยู่ชมกันถึงบ่ายๆเกือบจะเย็นผมก้ต้องขับรถไปส่งเพื่อน เพื่อให้เพื่อน ที่เดินทางมาจาก กทม ได้ มีโอกาสเที่ยว ในสถานที่ อื่นๆ ของ จังหวัดเชียงราย อีกหลายที่ และหวังว่า เพื่อนๆทุกคนที่เคยแวะมาทักทายผม จะกลับมาเยี่ยมเยียนกันอีกครั้ง ในโอกาสต่อไป

สำหรับวันนี้ ก้ขอจบการรีวิว เทศกาลดอกเสียว และการเที่ยว ตาม เส้นทางดอกไม้บ้านของเชียงราย ไว้เท่านี้ครับ



หากมีข้อสงสัย หรือ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อความรวดเร็ว สามารถ ไปสอบถามได้ที่ เพจของผมได้ ที่



https://www.facebook.com/TummengMagazine



อย่าลืมติดตามกาเดินทางท่องเที่ยวของผม Tummeng Travel ได้ทุกช่องทางนะครับ



ราตรีสวัสดิ์ พบกันฉบับหน้า พาไปทะเล บ้างครับ

แบกเป้เท่ทั่วโลก

 วันพฤหัสที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 17.11 น.

ความคิดเห็น