•พระตำหนักดอยตุง นับได้ว่าเป็นบ้านหลังแรกของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่สร้างขึ้นด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์พระองค์และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯได้พระราชทานแนวพระราชดำริ โดยเน้นความเรียบง่ายและการใช้ประโยชน์ได้ดี พระตำหนักดอยตุง เริ่มดำเนินการสร้างเมื่อพระองค์ท่านเจริญพระชนมายุได้ 88 พรรษา โดยมีพิธีลงเสาเอกซึ่งทางเหนือเรียกว่า พีธีปกเสาเฮือน เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2530

พระตำหนักดอยตุง เป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมล้านนา กับบ้านพื้นเมืองของสวิสเซอร์แลนด์ และบ้านไม้ซุง ตัวอาคารมีสองชั้นและชั้นลอย ที่ประทับชั้นบนแยกเป็นสี่ส่วน ทุกส่วนเชื่อมต่อกันเป็นอาคารหลังเดียวเสมอกับลานกว้างยอดเนินเขา ส่วนชั้นล่างจะเกาะอยู่ตามไหล่เนินเขา ลักษณะเด่นอยู่ที่กาแล และเชิงชายแกะสลักลายเมฆไหลรอบพระตำหนัก ภายในท้องพระโรงจะเห็นเพดานดาว ทำด้วยไม้สนแกะสลักเป็นกลุ่มดาวต่างๆ ล้อมรอบระบบสุริยะจักรวาล และที่เชิงบันได แกะเป็นตัวพยัญชนะไทยพร้อมภาพประกอบ ไม้ที่ใช้ตกแต่งภายในพระตำหนักส่วนใหญ่ เป็นไม้ลังใส่สินค้ามาจากต่างประเทศ ส่วนภายนอกพระตำหนักสดสวยสะพรั่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวนานาพันธุ์ที่สวยงามและสดชื่นตลอดปี

พระตำหนักดอยตุง ถือว่าเป็นสัญลักษณ์สำคัญของจังหวัดเชียงรายไปแล้ว ไม่ใช่เฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยแต่ยังสร้างชื่อเสียงไปทั่วโลกสำหรับ โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ภายใต้การดำเนินงานของ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ สมเด็จย่า จากพระราชปณิธาน “ฉันจะปลูกป่าที่ดอยตุง” เพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิต พร้อมฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ที่มากด้วยมนต์เสน่ห์โอบล้อมไปด้วยขุนเขาและสายหมอก สามารถไปเที่ยวได้ทุกช่วง ทุกฤดู สถานที่ซึ่งมีประสบการณ์ท่องเที่ยวใหม่ๆ มากมายรอให้ทุกคนไปสัมผัสกันแบบใกล้ชิด ทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม ในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

การเข้าชม พระตำหนักดอยตุงเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.00 - 18.00 น.

ค่าเข้าชม พระตำหนักดอยตุง สวนแม่ฟ้าหลวง หอแห่งแรงบันดาลใจ กุหลาบพันปีสวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวง สถานที่ละ 90 บาท บัตรรวมทั้ง 4 ที่จะได้ราคา 220 บาท

พระตำหนักดอยตุงไม่อนุญาตให้บันทึกภาพและวิดิโอ แต่มีสื่อการแนะนำให้ฟังขณะเยื่ยมชมครับ

เริ่มจุดแรกจากการกราบสักการะพระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จย่าที่ พระตำหนักดอยตุง สถานที่ประทับทรงงานของสมเด็จย่า เมื่อครั้งทรงริเริ่มโครงการพัฒนาดอยตุง เมื่อ พ.ศ.2531 เป็นอาคารที่ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบสวิสชาเลต์ กับสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ประกอบด้วยไม้แกะสลักโดยฝีมือช่างพื้นบ้าน ระเบียงด้านหลังประดับด้วยดอกไม้สวยงาม ด้านหน้าจัดเป็นสวนดอกไม้นานาพันธุ์ มองเห็นทิวทัศน์กว้างไกลไปถึงแม่น้ำโขง และทิวเขาฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภายในตกแต่งแบบเรียบง่าย สง่างาม เน้นประโยชน์ใช้สอยอย่างพอดี สะท้อนพระราชจริยวัตรอันเรียบง่ายของเจ้าของบ้านได้อย่างชัดเจน ตัวพระตำหนักยังได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีและเปิดให้ประชาชนเยี่ยมชมได้ทุกวั

จุดต่อมาทางทิศเหนือของพระตำหนักดอยตุงเป็นที่ตั้งของ สวนแม่ฟ้าหลวง สวนไม้ดอกไม้หลากสีสัน กว้างไกลสุดลูกหูลูกตาบนพื้นที่ 25 ไร่ ภายในสวนถูกตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับสวยงาม ดูแลอย่างดี ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนออกดอกตลอดปี กลางสวนเป็นที่ตั้งของประติมากรรมชื่อ “ความต่อเนื่อง” สมเด็จย่าพระราชทานชื่อนี้เพื่อสื่อความหมายว่า การทำงานใดๆ จะสำเร็จได้ ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ผลงานของ มีเซียม ยิบอินซอย ศิลปินชื่อดังของไทย ในสวนแม่ฟ้าหลวงยังมีคอลเลกชั่นกล้วยไม้รองเท้านารี ดอกไม้ทรงโปรดของสมเด็จย่า และมีกิจกรรมผจญภัยบนทางเดินเรือนยอดไม้ “ดอยตุง ทรี ท็อป วอล์ก” ความสูงกว่า 30 เมตร ระยะทาง 297 เมตร ให้นักท่องเที่ยวได้เดินศึกษาพันธุ์ไม้และสัมผัสบรรยากาศท่ามกลางป่าร่มรื่นในสวนแม่ฟ้าหลวงอย่างใกล้ชิด


อีกจุดที่พลาดไม่ได้คือ หอแห่งแรงบันดาลใจ นิทรรศการสื่อผสมผสานที่รวบรวมพระราชประวัติราชสกุลมหิดล หลักการอภิบาลพระราชโอรสและพระราชธิดาของสมเด็จย่าจนเติบใหญ่เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ทั้งยังถ่ายทอดเรื่องราวของครอบครัวอันอบอุ่นของราชสกุลมหิดล เริ่มตั้งแต่สมเด็จย่าทรงเป็น “เด็กหญิงสังวาลย์” ที่ใฝ่ดีและแสวงหาโอกาสจนเป็น “คู่ชีวิตเจ้าฟ้า” ที่ได้ซึบซับพระราชปณิธานอันแรงกล้าในการทรงงานเพื่อแผ่นดินไทยและกลายเป็น “แม่ฟ้าหลวง” ของประชาชนชาวไทย ตลอดจนการสื่อพระราชภารกิจอันยิ่งใหญ่ของ “พระมหากษัตริย์ของประชาชน” เพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ยากของประชาชน ทำให้ทุกวันนี้ทั้งคนและผืนป่าของดอยตุงได้รับการพลิกฟื้นคืนสู่ชีวิตที่พอเพียงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เชื่อว่าเยาวชนคนรุ่นใหม่รวมถึงชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวดอยตุงจะเข้าใจดอยตุงดินแดนที่มีแต่แรงบันดาลใจให้แก่ทุกๆ คนมากยิ่งขึ้น

จริงๆแล้วมีอีกแห่งค่าจากตั๋วค่าเข้า คือกุหลาบพันปีสวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวงที่อยู่ห่างออกไป 8 กิโล แต่ด้วยความที่มาช้าอาเที่ยงเวลาเลยหลือน้อยไปไม่ทันปิดสะก่อน ไว้รอบหน้าหรือถ้าใครจะมาเที่ยวกะเวลาเหลือไว้เยอะหน่อยนะครับ รับรองสนุกเพลิดเพลินในการรับชมที่เที่ยวสำคัญของเชียงรายครับ

ฝากติดตามรีวิวอื่นๆด้วยนะครับที่ B e L L a G i O ..... Studio

B e L L a G i O ..... Studio

 วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 13.31 น.

ความคิดเห็น