สวัสดีค่ะ ^^

ในยุคที่การเดินทางในบางช่วงเวลาถูกจำกัดด้วย โรคระบาดที่ไปๆมาๆ ขึ้นๆลงๆ สถานที่ท่องเที่ยวเราเองก็ปิดๆเปิดๆ อยู่แบบนี้นั้น 

เราเองก็คงจะมารีวิวการเดินทางสั้นๆ ใช้เวลาไม่นานนัก แถมยังไม่พลุกพล่านไปด้วยนักท่องเที่ยวมากนัก คือไม่ได้ unseen นะ แค่ไปไม่ตรงฤดูพีคๆ ของสถานที่น้ันๆ เท่านั้น (คือไปเพื่อไรกันนะ)

เส้นทางของเราเริ่มต้นที่ขอนแก่น ขับไปนครไทย แล้วต่อไปที่ทางหลวงชนบท 1143 แล้วต่อไปที่

จุดหมายแรกของเรา

"อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ"

อุทยานตั้งอยู่ใน อ.ชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เราขับรถมากางเต้นท์มานอนกันที่นี่ คนน้อยค่ะ รับรองได้เพราะคืนที่เรานอนนี้ก็เหมาลานกันไป แต่ปลอดภัยมีเจ้าหน้าที่ตรวจอยู่ตลอดทั้งคืน 

อุณหภูมิราวๆ 20 องศาเซสเซียส ลมพัดสบายๆ ทำให้เราหลับสนิทพร้อมที่จะตื่นไปเที่ยวน้ำตกกันค่ะ 

เราไปในช่วงที่ไม่ได้สวยที่สุดของน้ำตกที่นี่เพราะงั้นน้ำก็จะน้อยๆหน่อย ตามรีวิวอื่นๆ คือตอนพีคๆ นางก็สวยมากเด้ออออ   

น้ำตกมีทั้งหมดเจ็ดชั้น เราเองก็ไม่รู้ว่าเดินครบทุกชั้นมั้ย แต่ที่แน่ๆ เราจะเจอชั้นแรกแบบง่ายดายที่สุดและในความคิดเราเราก็ว่าชั้นนี้สวยสุดละนะ ไปเปิดดูรูปคนอื่นถ่ายก็แบบดีย์อะ 

ชั้นต่อๆไป ก็เดินๆไปตามป้ายค่ะ จะมีป้ายบอกอยู่ตลอดทาง จะเดินขึ้นเขาไปเรื่อยๆ ทางเดินไปไม่ยาก ชันเล็กๆแค่ช่วงแรกๆค่ะ ถ้าจะไปให้ถึงชั้น 7 ระยะทางอยู่ที่ประมาณ 1200 m.

ภาพนี้คือปลาทางของเรา คือเอาจริง ไม่รู้ว่าใช่ชั้นสุดท้ายมั้ยนะ 5555555

หลังจากเดินน้ำตกจนเหงื่อซึม ก็ได้เวลาเดินทางต่อ เราเดินย้อนกลับเส้นทางเดิมกลับมาทางนครไทยและไปกันที่

"อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า"

เป็นอุทยานที่มีที่ให้แแวะหลายจุดมากๆ เราเองก็แวะครั้งถึงสองครั้ง แต่ครั้งนี้เราได้ไปเดินเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เดินเพลินๆทักทายก้อนหินก้อนหญ้าก็ได้เหงื่อซึมเบาๆ อยู่นะ จุดเป้าหมายของเส้นทางนี้จะอยู่ที่ "ผาชูธง" ก็อย่างที่เห็นค่ะ ธงมันก็ชูอยู่จริงๆ เห็นปะลิบๆนั่นหน่ะ

แต่จริงๆ เราว่าไฮไลต์ของมันอยู่ที่ 

"ลานหินปุ่ม" 

ในความคิดเราคือมันอัศจรรย์มากเว่ยยย 

คือมันปุ่มได้ไง นึกออกมั้ยย ตรงจุดชมวิวคือเป็นลานกว้างที่มีหินปุ่มขึ้นมา ปุ่มเยอะจนเราขนลุกเลยยย 55555 เราแบบเลยคาใจไปหาคำตอบกับพี่กูเกิล พี่นู๋เขาบอกว่า มันเกิดจากการผุพังและการกัดกร่อนของหินทรายเนื้อแข็ง น้ำฝนน้ำผิวดินกัดเซาะหินตามรอยแยกเหลือแต่เนื้อหินตรงกลาง (ย่อๆนะ ยาวๆเราเราแปะลิ้งเพิ่มเติมไว้ที่ท้ายกระดาษนะคะ) 

ที่ต่อไปของเรา 

"โรงเรียนการเมืองและการทหาร"

เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่แวะเพื่อถ่ายรูปใบเมเปิล  ในจุดนี้ก็มีเรื่องราวมากมายที่เล่าเรื่องราวได้มากพอจากประวัติศาสตร์จากป้ายที่ผู้อยู่ในเหตุการณ์ไม่ได้เล่าเอง มีเพียงหลักฐานวางไว้เพื่อระลึกเท่านั้น เรื่องราวเพิ่มเติมต้องไปศึกษาในพี่กูเช่นเคยนะคะ

จริงๆ เป้าหมายถัดไปคือแค้มป์ที่ทุ่งแสลงหลวงแต่เราเพลิดเพลินกับภูหินร่องกล้านานเกินไปจนต้องหาที่หลับที่นอนใหม่ที่พอจะไปให้ถึงก่อนที่พระอาทิตย์จะเลิกงาน คงจะเป็นที่ไหนไม่ได้ใกล้ที่สุดคงต้องเป็น

"ภูทับเบิก"

ภูทับเบิก ภูเขาที่มีการเติบโตไม่หยุด การเติบโตที่ไม่ได้มาจากป่าที่เติบโตขึ้น แต่กลับเป็นสังคมมนุษย์ที่อยู่ในทุกหย่อมของภูเขาเทือกนี้ เราเองก็มาหลายครั้ง แต่ละครั้งก็แทบจะไม่เหมือนกันเลย แต่ความประทับใจกลับแตกต่างไปในทุกครั้งเช่นกัน

เมื่อลงจากภูทับเบิกเราเองมีสถานที่หนึ่งที่ยังค้างคาใจในอำเภอน้ำหนาวที่เราเคยไปมา 

"เลยดั้น ลานหินมหัศจรรย์"

เลยที่ไม่ได้อยู่ที่เลย เราเดินทางลงจากภูทับเบิกใช้เส้นทาง ผ่านหล่มเก่าและเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2216 เส้นทางภาคอิสานที่สวยจนอยากจะเก็บเป็นความลับบบบ

ระหว่างเส้นทางทางวิวข้างทางเราจะเห็นภูป่าเปาะ ภูกระดึง ภูต่างๆที่อยู่ในจังหวัดเลย เพราะมันคือเส้นเขตแบ่งจังหวัดเพชรบูรณ์และเมืองเลย หรือเลยดั้นจะหมายถึงดั้นด้นไปเลยแต่ยังไม่ถึงเลย.....

แต่เราถึงนะ อิหยังวะ

กว่าจะไปถึงเลยดั้นเราก็สงสัยว่ามันคือที่เที่ยวหรือที่ซ่อน 555 ลาดยาง คอนกรีต และสุดท้ายทางลูกรัง

เลยดั้นเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เราเรียกว่ากุมภลักษณ์ หรือโบก มีลักษณะเป็น หลุมที่เกิดพื้นท้องน้ำ ที่นี่มีน้ำไหลใต้หินที่โดนกัดเซาะเป็นหลุม มันแปลกตาสำหรับเรานะ เราเองก็ชอบไม่น้อยยย

ทริปนี้เหมือนทริปไปดูหิน ที่เกิดขึ้นแบบไม่ได้ตั้งใจ หินที่เป็นพื้นหลังของสายน้ำตกชั้นแรกที่น้ำตกชาติตระการ หินเป็นปุ่มที่ภูหินร่องกล้า หินเป็นหลุมที่เลยดั้น อิหยังวะ

-----------------------------------------------------

ข้อมูลเพิ่มเติมน้าา 

- ที่พักอุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ กางเต้นท์ได้ ห้องน้ำโอเค ค่าธรรมเนียมก็ตามแบบ อช. ทั่วไป 

- ที่พักภูทับเบิก ราคาสูงอยู่นะ แม้จะเอาเต้นท์มาเอง แต่ที่พักหาง่ายแหละเพราะเยอะไปหมด แต่ถ้าไม่อยากเสียเวลาควรจองมาค่ะ

- ลิ้งหินปุ่มที่สัญญาไว้ http://www.dmr.go.th/images/ar...

go_with_puay

 วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 12.47 น.

ความคิดเห็น