ปอมเปอี เมืองที่หายสาปสูญไป โดนกลบด้วยลาวา จากการระเบิดของภูเขาไฟเวสุเวียส (Vesuvius) มานับพันปี มาถึงวันนี้ เมืองปอมเปอีได้กลับมาบนพื้นโลกอีกครั้ง ให้ทุกคนได้ทราบถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรโรมันอีกแห่งหนึ่งในเมืองนี้ จากการค้นพบเมื่อปี 1599 และถูกค้นพบขยายวงกว้างมาเรื่อยๆ ณ ปัจจุบัน เมืองปอมเปอีได้เปิดให้นักท่องเที่ยวมาชมแล้วกว่า 250 ปี

การเดินทาง เริ่มจากการนั่งรถไฟจาก โรม ไปเมืองนาโปลี (แล้วไปต่อรถไปปอมเปอี ที่นาโปลี) โดยนั่งรถไฟออกจากโรมแต่เช้ามืด รถไฟระหว่างเมืองใหญ่ยังคงดูดี ภายในโอเค นั่งสบาย

จากนั้นก็ไปต่อรถไฟ local ในเมืองนาโปลี เพื่อไปยัง ปอมเปอีค่ะ สภาพรถไฟ ก็จะเก่าลง และคนเยอะขึ้น เพราะเป็นรถไฟท้องถิ่นหละ


ใช้เวลาจากโรมถึงที่นี่ประมาณ 2 ชม. ถึงสถานี ปอมเปอี (ที่นี่เขียนเป็น POMPEI ตัด i ไปตัวนึงค่ะ) และเดินเท้าต่อไปอีกนะคะ


และเราจะได้สัมผัส เมืองในตำนานค่ะ ซึ่งที่นี่เป็นเหมือน open air museum นะคะ จะมีบางส่วนเท่านั้นที่เข้าไปในอาคาร แต่ไปช่วงต้นปี บอกเลยว่า หนาวมากค่ะ แม้แดดจะแรง

เข้าไปในส่วนต้นๆ จะมีการนำ ของที่ขุดพบ และคนตายเป็นเหมือนปูนปั้นในท่าทีต่างๆวางอยู่ค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่ที่สมบูรณ์จะถูกนำไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์ในเมืองนาโปลีค่ะ


ทำไมยังเป็นรูปปั้นที่สมบูรณ์แบบนะ เป็นเพราะบางส่วนที่ตายไม่ได้ตายเพราะไฟ แต่ตายเพราะความร้อนควันและลาวาที่ค่อยมาแต่ก็หนีไปไหนไม่ได้

จากนั้นช่วงกลางจะเป็นตัวเมือง อาคาร บ้านเรือนซึ่งบางบ้านภายในยังมีภาพระบายบนฝาผนัง หรือ มีพื้นโมเสค ที่เกือบสมบูรณ์อยู่ แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองสุดขีดของยุดนั้นจริงๆค่ะ


เมื่อเดินไปจนสุดหมู่บ้าน จะมองภูเขาไฟเวสุเวียส ต้นเหตุของการหายไปของเมืองนี้ได้แบบเต็มๆตาค่ะ


เดินลัดเลาะครบรอบก็จะออกมาสู่กลางเมืองเป็นลานกว้าง มีสถาปัตยกรรมที่ไม่น่าเชื่อว่าเมื่อพันปีก่อนจะสร้างกันได้งดงามขนาดนี้ (เทคนิคที่ไม่ใช้ตะปูเลย)


มาที่นี่ ถ้าใครชอบประวัติศาสตร์ ของเก่าเก็บ ก็เผื่อเวลา 1 วันเต็มๆนะคะ รับรอง คุณต้องอื้อหือ ยิ่งในส่วนโรงอาบน้ำด้วยแล้ว............ การขุดค้น วิจัย คาดว่าจะมีต่อไปอีกนะ เพราะเหมือนยังมีอีกหลายส่วนยังไม่พร้อมสู่สายตาโลก

ของจริง สถานที่จริง มีมากกว่านี้นะคะ อยากให้ทุกคนไปสัมผัสความรุ่งเรืองของอาณาจักรนี้ด้วยตัวเองค่ะ

Girltravelstory

Girltravelstory, คนหันหลังนั่นใครกัน, creamcreremo

 วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เวลา 18.02 น.

ความคิดเห็น