เมือคืน เพื่อนคนอินเดียบอกว่าอยากลองใส่ชุดพื้นถิ่นของชาวไทยกวนดู วันนี้พ่อๆแม่ๆเลยจัดให้แบบเต็มยศ แถมยังชวนพ่อๆแม่ๆคนอื่นๆมาแต่งชุดไทยกวนไปเที่ยวด้วยกันอีก น่ารักที่สุดเลย
ชุดของชาวไทยกวนเป็นชุดสีเหลืองและดำ เราถามถึงความหมายของสีที่นำมาใช้บนผืนผ้า พ่อวีเจ้าของโฮมสเตย์บอกว่าสีเหลืองเป็นสีของย้อมผ้าที่ได้จากต้นถ่อน (ต้นไม้ประจำพื้นที่นาถ่อนนี่เอง)และใส่ผ้าซิ่นมัดหมี่สีดำ
ตอนนี้ชุดและพร็อบพร้อมแล้ว ไปลุย"3ดง"กันเลยค่ะ
"3ดง" ได้แก่ ดงป่ายูง ดงก้อม และดงยอใต้ 3 ดงนี้อยู่ในตำบลนาถ่อน เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงด้านการทำหัตกรรม
แรกที่เราไปเยี่ยมเยียน คือหมู่บ้านดงป่ายูง
การทอผ้ามัดหมี่ ชาวผู้ไทย
วันนี้เราได้พบกับพี่ใบคำ สุริยนต์ ผู้มีประสบการณ์ทอผ้ามัดหมี่มาแล้วกว่า 20 ปี
มัดหมี่ คือการเอาด้ายพุ่งไปมัดย้อม เพื่อกำหนดลวดลายของซิ่น พี่ใบคำเล่าถึงเสน่ห์ของผ้ามัดหมี่ว่า เป็นงานละเอียดคนทำต้องมีสมาธิอยู่กับการทอเพราะด้ายแต่ละกระสวยถูกกำหนดลวดลายไว้แล้ว ต้องระวังอย่าให้สลับกัน ไม่อย่างนั้นลวดลายจะผิด
ตอนนี้พี่ใบคำกำลังทอผ้ามัดหมี่ลายแก้วศิลามณี มีลายขอ(ลายของผ้าหมายถึงขออะไรที่เราอยากจะได้ และใช้ยึดอะไรติดด้วยกัน) พุ่มดอกไม้ (ใช้ในการบูชา) การทอครั้งหนึ่งจะได้ซิ่น 2 ผืน โดยใช้เวลา 6 วันในการทอ พี่ใบคำบอกว่าดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสานต่อภูมิปัญญาการทอผ้ามัดหมี่ให้ไม่สูญหาย แม้ตอนนี้ในหมู่บ้านจะเหลือคนที่ทอผ้ามัดหมี่เป็นกันอยู่ไม่กี่คน แต่พี่คำใบก็ยังมุ่งมั่นที่จะรักษาและสืบทอดการทอผ้ามัดหมี่ต่อไป
ตอกมัดใจ (เป็นชื่อที่น้องๆตากล้องตั้งให้) โดยชาวไทยกะเลิง
ไม่ไกลจากบ้านทอผ้ามัดหมี่ เราได้พบกับ พี่ไพรวัลย์ สุริยนต์ (ผู้ใหญ่บ้าน) ที่นี่ใช้ตอกที่ทำจากไม้ไผ่ป่าชุมชน เป็นอาชีพเสริมหลั
จนเมื่อประมาณ พ.ศ.2525 เริ่มมีพ่อค้าเข้ามาสั่งผลิตภั
เมื่อวิกฤตนำไปสู่การจุดประกายอะไรบางอย่าง
จากการที่ป่าไผ่หายไป นำไปสู่การส่งเสริมให้ปลูกป่
เมื่อการปลูกป่ามาควบคู่กับการปลูกจิตสำนึก
มีเด็กๆเข้ามาเกี่ยวข้องเป็
ผลิตภัณฑ์มีอะไรบ้าง
กระติ๊บข้าว กระเป๋าตังค์ กระเป๋าถือ กล่องใส่กระดาษทิชชู่ ฯลฯ มีแบบ Made to order ตอนนี้ขายดีมาก มีทั้งหมด 129 ครัวเรือนที่มาร่วมสานตอกไปด้วยกัน
ความพิเศษของการสานตอกที่นี่
เขารู้ว่าใช้ไผ่อายุเท่าไหร่
จากหมู่บ้านป่ายูง รถอีแต๊กพาเราเข้าสู่ดงที่ 2 คือ ดงก้อม
บ้านดงก้อม ชาวภูไทย ผู้เชี่ยวชาญในการทำลายมัดหมี่ และฝ้ายเข็นมือ
เราได้พบกับคุณยายคำใบ ศรีโคตร อายุ 80 ผู้เชี่ยวชาญในการทำลายมัดหมี่ และฝ้ายเข็นมือด้วยตัวเองทุกขั้นตอน บ้านของคุณยายตั้งห่างจากถนนใหญ่ บริเวณหน้าบ้านสงบร่มรื่น มีน้องควายกำลังแช่น้ำปลักคลายร้อนเป็นภาพที่หาได้ยากแม้ในชนบทที่อื่นๆ
Advertisement
ที่นี่มีการทำฝ้ายเข็นมื
อี้วฝ้าย คือการเอาเม็ดฝ้ายออกจากดอกฝ้าย
ดีดฝ้าย ทำให้ฝ้ายฟู
ล้อฝ้าย เอาไปทำเป็นหลอด
เข็นฝ้าย เอาหลอดฝ้ายไปทำเป็นเส้น
เราอุดหนุนซิ่นผ้าฝ้ายฝีมือคุ
บ้านดงยอใต้ หมู่บ้านผ้าขาวม้า ชาติพันธุ์กะเลิง
แม่พิมพ์พา แก่นจันทร์ 63 ปี ผู้ทอผ้าขิด และผ้าขาวม้า ผ้าขาวม้าที่นี่ทำจากฝ้ายแท้ มีความนุ่ม ระบายอากาศและซับเหงื่อได้ดี ปัจจุบันออเดอร์เยอะจนทำแทบจะไม่ทันเลยล่ะค่ะ
บ้านนาถ่อนนอกจากจะมีชาวไทยกวนแล้ว ยังมีชาวไทยกะเลิง และชาวผู้ไทย เป็นสถานที่ๆมีความหลากหลายของชาติพันธุ์ที่สามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย อย่างชาวไทยกวนไม่มีการทอผ้าเป็นของตนเอง ก็ใช้ผ้ามัดหมี่ของชาวภูไทย
เท่าที่ไปเที่ยว 3 ดงในวันนี้คิดว่าผลิตภัณฑ์หลายๆตัวยังไปต่อได้อีกไกล เป็นหมู่บ้านที่น่าสนใจมากๆ อยากให้มาเที่ยวกันนะคะ
บ่ายนี้มีกิจกรรมประมงแบบพื้นบ้านฝากติดตามด้วยนะคะ :)
#ThailandVillageAcademy #TheVillageStory #ชุมชนบ้านนาถ่อน #นครพนม
Pasiree Parichani
วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เวลา 23.14 น.