ปล. พะเยาไม่ได้รวบไว้ในบล๊อกนี้นะคะมันค่อนข้างยาวและรูปเยอะ

ตามอ่าน = = > คลิ๊ก ๆ



28th - 29th July 2019


เราจาก ภูลังกาทะเลหมอก 360 องศา มาตอนสาย ๆ ราว 9 โมงวิ่งมาตามทางจากภูลังกาไปยังเส้นทาง อช.สะเกิน แต่รายทางที่รายล้อมด้วยพื้นที่เขียวสดนั้นนั้น.. หลังลงเขาจากภูลังกาเราผ่าน "เขาเดียวดาย" (เรียกเอง) ในระดับสายตาที่แทบมองไม่ออกว่าคือ ม่อนนั้นที่เด่นสง่ายามอยู่บนภูลังกามองลงมา..
จากข้อมูที่ทำการบ้านมาบ้าง จขบ.เอาลิสต์ที่อยากเที่ยวให้คนขับ พอเขาเห็นป้าย อช.สะเกินก็เลี้ยวตาม พลางบอกว่า.. "ผมก็ไม่เคยมาที่นี่เหมือนกัน" ดีค่ะไปลุยด้วยกัน



อช.สะเกิน


ซึ่งก็เจอถ้ำสะเกิน.. แต่ขอไม่ปีนค่ะ
เห็นป้ายบอกทางขึ้น 400 เมตรยังไม่ใช่วิสัยที่จะลองในวันนี้ "ผ่าน"






พิกัด 47 Q 0660812 E 2144682 N และก็เศร้าไปนิดที่ไม่ได้เดินใน อช.


........

สายมากแล้วเราวิ่งไปบนทางหลวงชนบท หมายเลข 1148 (กูเกิ้ลใช้คำว่าทางหลวงแผ่นดิน) เพื่อเข้าสู่อำเภอท่าวังผา จ.น่านกันค่ะ นั่งรถประมาณชั่วโมงกว่า ๆ ก็ถึงน่าน จังหวัดที่ไปบ่อยในวัยเด็กแต่กลับจำอะไรไม่ได้เลยในความทรงจำ จะมีก็เพียงสายน้ำและทุ่งนาเท่านั้นที่พอจะจำได้

.........



.
.
.




น่าน



ลงเขาเข้าน่านทางท่าวังผา

ที่แรกที่แวะคือที่นี่ค่ะ

"วัดศรีมงคล" หรือ "วัดก๋ง" ตามชื่อที่ชาวบ้านเรียกค่ะ


วัดศรีมงคล (ก๋ง) ตั้งอยู่ที่ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เป็นวัดเก่าแก่ที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2395 พระสงฆ์ที่มีชื่อที่สุดของวัดนี้คือ หลวงปู่ก๋ง ด้านหลังวัดมีลานชมวิว ซึ่งมีทัศนียภาพที่งดงาม มองเห็นทุ่งนาเขียวขจี และทิวเขาของดอยภูคาเรียงรายสลับซับซ้อน บริเวณนาข้าวมีที่พักและร้านกาแฟฮักนน่าน มีสะพานไม้ไผ่เชื่อมจากตัววัดสามารถลงไปเดินเล่นถ่ายภาพได้ โดยบริเวณลานชมวิว ทางวัดได้จัดทำเป็นซุ้มและจุดชมวิวให้ถ่ายภาพหลายจุด รวมถึงร้านกาแฟบรรยากาศไทยๆ ให้พักผ่อนหย่อนใจ ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ ทั้งวิหารหลวงที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังอันงดงาม โดยเลียนแบบการวาดของหนานบัวผัน จิตรกรชาวน่านเชื้อสายไทลื้อ ซึ่งวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดภูมินทร์และวัดหนองบัวของจังหวัดน่าน รวมถึงพิพิธภัณฑ์มงคลธรรมรังสี ซึ่งรวมรวมของโบราณต่างๆให้ได้ชม
เครดิต : www.paiduaykan.com






ซึ่งไฮไลท์ก็คงเป็นสะพานไม้ไผ่ที่ทอดยาวไปในท้องทุ่ง และในบริเวณเดียวกันนั้นมีทั้งคาเฟ่ ร้านอาหาร และมุมถ่ายรูปสวย ๆ หลายมุม
คือชอบที่นี่อย่างนึง มี "ร่ม" ไว้บริการได้ทั้งพร๊อพถ่ายรูปและกันแดดแบบเกร๋ ๆ อย่างไทยเหนือด้วยเน๊อะ




ด้านหลังมีคูส่งน้ำและเล้าเป็ด - ห่านด้วยอ่ะ




.
.



.

หอศิลป์ริมน่าน


122 หมู่ที่ 2 ถนนน่าน-ท่าวังผา กิโลเมตรที่ 20 ตำบลบ่อ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน หอศิลป์บนพื้นที่กว่า 13 ไร่อันเกิดจากความมุ่งมั่นของคุณวินัย ปราบริปู ศิลปินชาวน่าน ที่ต้องการสร้างสรรค์บ้านเกิดของตัวเองให้เป็นเมืองแห่งศิลปะอย่างแท้จริง หอศิลป์แห่งนี้ประกอบด้วย อาคารหอศิลป์ สตูดิโอ และบ้านพักรับรอง โดยเก็บรวบรวมงานศิลปะจากมันสมองของศิลปินไทยร่วมสมัยที่มีผลงานการสร้างสรรค์และมีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป อีกทั้งยังมีการแสดงผลงานจิตรกรรมและประติมากรรมของคุณวินัยเกือบ 200 ชิ้น ในรูปแบบกึ่งนิทรรศการถาวรให้คุณได้ชมเกือบตลอดปี

เปิดให้เข้าชมเวลา 10.00-17.30 น. ทุกวันพุธ-อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์

เครดิต : https://thai.tourismthailand.org



ค่าธรรมเนียม 20 เข้าชมได้เลย
มีหลายอาคารค่ะ




ขึ้นชั้นบนกันเน๊อะ







ตอนเด็ก ๆ จะเห็นผู้ชายคนนึงจับกล้องส่องโน่น นี่ นั่นเสมอช่วงข่าวในพระราชสำนักภาพนั้นคือแรงบันดาลใจให้ จขบ.ยังจับกล้องอยู่ ^^ จนป่านนี้และคงจับตลอดไปแม้ว่าตอนนี้จะไม่ได้เห็นภาพอย่างนั้นในช่องใด ๆ

แล้วก็ตาม - รักภาพนี้ที่ได้เห็นอีกครั้ง -
..........







ออกมาด้านนอกบ้างไรบ้าง
เสียงเรียกของลำน้ำน่านเรียกร้อง การเยือนน่านหน้าฝนเราหนีสายน้ำสีขุ่นอย่างนี้ไม่ได้หรอกนะ

กับบริบทรอบ ๆ



กับที่ ๆ ห้ามถ่ายรูป
แต่ก็ยังแอบเก็บรูปเพื่อนมาได้ตั้ง 1 ใบ หนีห่าวมา


ข่าวว่า
คาเฟ่ริมน้ำน่านในหอศิลป์ "น่านั่ง"

ทำให้
สั่งน้ำไปหลายแก้วเพราะเริ่มร้อน
และเมนูชูโรงของที่นี่เพื่อนมันสั่งมาชิม

ด้านหลังขายผ้าซิ่นที่ต้องแวะดู

ลาละนะหอศิลป์


ลำดวลผ้าทอไทลื้อ
คาเฟ่ไม่ได้แวะชิมเพราะ นทท.เยอะจนจะเบียดกันตกทางเดิน




ย้ายที่กระซิบกันเถอะ "ร้อน"
.
.
.




พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน 55000

โทรศัพท์ : 054-710 561 และ 054-772 777
โทรสาร : 054-772 777
เว็บไซต์ : https://www.finearts.go.th/nanmuseum


เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัดน่าน ตั้งอยู่ในบริเวณคุ้มของอดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน ถนนผากอง ตำบลในเวียง

อำเภอเมือง จังหวัดน่าน มีพื้นที่ทั้งสิ้น 14 ไร่ 2 งาน 32 ตารางวา

รายล้อมด้วยถนนที่สำคัญได้แก่ ถนนผากองด้านทิศตะวันออก

ถนนสุริยพงษ์ด้านทิศใต้ และถนนมหาพรหมด้านทิศเหนือ

อาคารพิพิธภัณฑ์เดิมเป็นหอคำที่พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ

พระเจ้าน่านทรงสร้างขึ้นเป็นที่ประทับ เมื่อพุทธศักราช 2446

เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น แบบตรีมุขหรือรูปตัวที

รูปแบบผสมผสานระหว่างแบบศิลปะตะวันตกและศิลปะไทย โครงสร้างภายในเป็นไม้

หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีมุขออกด้านหน้า หลังคามุงด้วยไม้แป้นเกล็ด

credit and for more information : https://www.museumthailand.com/th/museum/Nan-National-Museum






ขุนเขาไหนพ่อไม่ได้ไป - สายน้ำไหนพ่อไม่ได้ให้





เด็กอวบ ๆ กับป้ายโต ๆ

...............


ถึงสักทีสินะ
อุโมงค์ดอกหน้าพิดพัน




.
.
.






วัดภูมินทร์


(ในวันที่ปิดซ่อมแซมบางส่วน)

วัดหลวงเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 400 ปีที่มีชื่อเสียงที่สุดของเมืองน่าน ด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งนี้ประวัติการสร้างวัดภูมินทร์ตามพงศาวดารเมืองน่าน ได้กล่าวไว้ว่า พระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์เจ้าผู้ครองนครน่านได้สร้างวัดภูมินทร์ขึ้นมา หลังจากที่ครองนครน่านได้ 6 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2139 อีกทั้งยังมีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่า วัดแห่งนี้เดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” และต่อมาในภายหลัง ชื่อวัดได้เพี้ยนไปกลายเป็นวัดภูมินทร์


วันที่เยือนเราเข้าด้านหลังเพราะปิดซ่อมแซม


สถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่

  • อาคารทรงจตุรมุขหนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่ดูคล้ายตั้งอยู่บนหลังพญานาค 2 ตัว อาคารนี้เป็นทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร และพระเจดีย์ประธาน โดยใช้อาคารในแนวตะวันออก-ตะวันตกเป็นพระวิหาร และอาคารแนวเหนือ-ใต้เป็นพระอุโบสถ
  • ธนบัตรใบละ 1 บาท ที่รัฐบาลไทยเคยพิมพ์รูปวัดภูมินทร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
  • จิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารที่เรียกกันว่า “ฮูปแต้ม” ซึ่งได้เขียนขึ้นในช่วงที่วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ.2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) และใช้เวลาซ่อมนานถึง 7 ปี โดยมีภาพ “ปู่ม่านย่าม่าน” อันลือเลื่อง ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นภาพงามเยี่ยมของวัดภูมินทร์ ทั้งยังได้รับฉายาว่า “ภาพกระซิบรักบรรลือโลก” นอกจากนี้ยังมีภาพน่าสนใจอยู่หลายภาพ เช่น ภาพธรรมเนียมการอยู่ข่วงของชาวไทลื้อ ภาพชาวพื้นเมือง ซึ่งอาจเป็นชาวเขา “เป๊อะ” ของป่าบนศีรษะ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกับคนเมือง ภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองน่าน ที่แสดงให้เห็นอิทธิพลตะวันตกที่เข้ามาผสมผสานในวิถีพื้นเมือง ภาพชาวต่างประเทศที่เข้ามาเมืองน่านช่วงรัชกาลที่ 5 โดยทรงผมและเครื่องแต่งกายของผู้หญิง เป็นรูปแบบเดียวกับที่กำลังเป็นที่นิยมในยุโรปขณะนั้น
เครดิต : https://thai.tourismthailand.org





ก่อนเข้าวัดแวะทัวร์นรกกันก่อนเนาะหนู
เพราะทางบังคับให้เดินอ้อม









ถนนคนเดิน กาดข่วงเมืองน่าน

ถนนคนเดิน กาดข่วงเมืองน่าน ทุกศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ทั้งเดือน ตลอดปี และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว น่านทุกวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ของสัปดาห์และตลอดเดือนจะมีการจำหน่ายสินค้า “ถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน” บริเวณถนนผากองด้านข้างวัดภูมินทร์ และจะมีลานข่วงเมืองน่านขนาดใหญ่ ด้านหน้าวัดภูมินทร์ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป ไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือนเมืองน่านในยามเย็นย่ำถึงค่ำคืน






...........




- น่านพันวา -

facebook.com


ราคาเข้าพัก 690 บาท ไม่รวมอาหารเช้าค่ะ ที่พักอยู่ใกล้วัดสำคัญ ๆ ของน่านค่ะ ใกล้พิพิธภัณฑ์ วัดภูมินทร์ ที่สำคัญใกล้เซเว่น และตลาดเช้าค่ะ สายแดร๊กตามได้ ที่ชอบมาก ๆ คือมี จกย.ให้ยืมปั่นได้นะและฟิลลิ่งแบบหลวงพระบางชัด ๆ (น่านเมืองฝาแฝดของหลวงพระบาง)







ให้ 3 ผ่านค่ะ : สภาพห้อง - โลเคชั่น และราคา



.
.
.



เช้านั้นจริง ๆ กะตื่นแต่เช้าแล้วปั่นไปตลาดเช้าใกล้ ๆ ที่พักอะไรงี้
แต่ความขี้เกียจแหล่ะ ตื่นสาย !!
เลยได้ฤกษ์ออกจากที่พักเกือบ 9 โมง แปลว่าเราเหลือเวลาเที่ยวน่านแค่ช่วงเช้าก็เท่านั้น.. และคงเหลือแต่วัดสำคัญ ๆ เท่านั้นให้เก็บ
และคงต้องเริ่มจากที่นี่แหล่ะ




วัดพระธาตุแช่แห้ง


พระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง วัดพระธาตุแช่แห้ง หมู่ 3 บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตี๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เดิมเป็นวัดราษฎร์ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวง ประดิษฐานอยู่ ณ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร องค์พระธาตุตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ย ๆ เป็นสีทองสุกปลั่ง

สามารถมองเห็นได้แต่ไกล เนื่องจากสูงถึง 2 เส้น เป็นอนุสรณ์ของความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัยในอดีต ที่มา : wikipedia







วันนั้น.. วันเกิดนาง นางภาวนานานมากกกก







.
.
.


วัดศรีพันต้น


วัดศรีพันต้น จะตั้งอยู่ ถนนเจ้าฟ้าตรงข้ามกับร้านขนมหวานป้านิ่ม เป็นวัดที่เก่าแก่ของ จังหวัดน่าน มีพญานาคเจ็ดเศียรสีทองอร่าม เฝ้าอยู่หน้าวิหาร

วัดศรีพันต้น จังหวัดน่าน แห่งราชวงศ์ภูคา โดยพญาพันต้น เจ้าผู้ครองนครน่าน (ระหว่าง พ.ศ. 1960 – 1969) เป็นผู้สร้าง ซึ่งชื่อวัดตรงกับนามผู้สร้าง คือพญาพันต้น บางสมัยเรียกว่า วัดสลีพันต้น (คำว่า สลี เป็นภาษาเหนือ หมายถึง ต้นโพธิ์) ซึ่งในอดีตมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ด้านทิศเหนือและทิศใต้ของวัด ปัจจุบันถูกโค่นเพื่อตัดเป็นถนนแล้ว วัดศรีพันต้นได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2505

วิหารของวัดศรีพันอ้น มีความสวยงามเป็นสง่าด้วยสีทองเหลืองอร่าม และเป็นอีกวัดที่มีจิตรกรรมปูนปั้นที่สวยงาม พญานาคเจ็ดเศียรตั้งเด่นเป็นสง่าเฝ้าบันได หน้าวิหาร ดูสวยงามมีชีวิตชีวา ปั้นโดยสร่ารง หรือ นายอนุรักษ์ สมศักดิ์ เป็นช่างชาวน่าน (สร่า เป็นภาษาเหลือแปลว่า ช่าง) และภายในวิหารช่างชาวน่าน ได้เขียนภาพลายเส้นประวัติของพระพุทธเจ้าและประวัติการกำเนิดเมืองน่าน มันเป็นภาพเขียนลายเส้นลงสีธรรมชาติสวยงามและทรงคุณค่าอย่างยิ่ง
ที่มา : https://nanroyal.com/watsripanton/





.
.
.





วัดพระธาตุเขาน้อย

วัดพระธาตุเขาน้อย ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เป็นวัดราษฎร์ องค์พระธาตุตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย ซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของตัวเมืองน่าน สร้างในสมัยเจ้าปู่แข็ง เมื่อปี พ.ศ. 2030 องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ เป็นศิลปะพม่าผสมล้านนา ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดชฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2449-2454 โดยช่างชาวพม่า และวิหารสร้างในสมัยนี้เช่นกัน

จากวัดพระธาตุเขาน้อย สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบของตัวเมืองน่าน ปัจจุบันบริเวณลานชมทิวทัศน์ ประดิษฐานพระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร บนฐานดอกบัวสูง 9 เมตร บนยอดพระเกศาทำจากทองคำหนัก 27 บาท สร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542

ที่มา : wikipedia.org








เราละน่านไว้ก่อนเที่ยงนิด ๆ ก่อนออกไปหาข้าวเที่ยงกินกัน
บ่ายหน้าหาลำปางเพื่อกลับเชียงใหม่กันค่ะ



งาว - ลำปาง "หล่มภูเขียว"


เรานั่งรถยาวเกือบสองชั่วโมงจากน่าน ผ่านแพร่แวะกินข้าวบนทางผ่านจากแพร่ร้องกวาง แล้วเข้าลำปางทาง อ.งาว เพื่อตามหาสระสีเขียวที่สรรตามธรรมชาติอย่าง หล่มภูเขียว และน้ำตกเกาฟุ กันค่ะ


คนขับ เขาขับตาม GPS ไปค่ะแรก ๆ ก็ทางดี แต่ตามภาพข้างล่างแล้ว เราใจคอเริ่มไม่ดี เพราะสภาพทางแล้วไม่น่าใช่ทางที่ชาวบ้านเขามากัน มันเหมือนทางน้ำมากกว่า บวกกับเมฆดำที่เริ่มก่อตัวมา เกรงฝนตกหนักแล้วถ้ากลับทางเดิมล้อฟรีแน่เลย





รถเราสวนกับเจ้าหน้าที่คนนึงที่ขี่มอร์เตอร์ไซค์ออกไปค่ะ แล้วแกก็วกรถตามเรามา
ไม่ได้มาเก็บเงิน แค่มาเช็คสถิติว่า วันนี้.. นทท.มาเยี่ยมที่นี่กันกี่คน แล้วแกก็ขอตัวกลับบ้านเพราะลม และฝนกำลังจะมา พ่วงทิ้งท้ายว่าอย่าอยู่นานนะ " กลัวฝน "



เราไปถึงคือเฟลนิดหน่อยค่ะ เพราะเขาบอกว่ากำลังเร่งสร้างทางเดินและจุดให้ชม ให้เดินระวังหน่อยอาจเจอเหล็กเส้นมีคมได้




















ทางลงเก่าชันเอาเรื่องเหมือนกันค่ะ หน้าฝนอย่างนี้ลื่นนิด ๆ แต่ก็ดีกว่าทางอีกทางหนึ่งที่เดินไม่ได้เลยค่ะ ลื่น ที่กั้นพัง นี่ปลอดภัยสุด




.........

ขากลับออกมาเราตามสิบล้อออกมาค่ะ อ้าวคนละทางกับทางที่เข้ามา มาถึงเหนือสันเขื่อน เขาบอกมาทางนี้แหล่ะถูกละ ละทางที่เพิ่งไปมานั่นน่ะเขื่อน "น้ำแห้ง" สิบล้อเลยวิ่งไปเอาดินมาทำถนนที่สันเขื่อน เอ่อ.. ถึงบางอ้อกันไหมล่ะ


เขื่อนแม่อ้อน





.
.
.



ริง ๆ เกาฟุก็ไม่ได้ไกลจากหล่มภูเขียวเลยค่ะ อีกแค่ 12 กม.เท่านั้นอากาศตอนนั้นทำให้เราคิดว่ากลับไปเส้นทางที่ใกล้เชียงใหม่ที่สุดจะดีกว่า เราเปลี่ยนแพลนกันกระทันหันเลยเลือกเส้นทางที่จะกลับเชียงใหม่ทางอช.แจ้ซ้อนกันค่ะ สงสารเด็ก ๆ อดเล่นน้ำตกเกาฟุ เอาน้ำพุร้อนแทนละกันเนาะ ถึงที่นี่ก็ราวบ่าย 4 เข้าให้แล้ว


อช.น้ำตกและน้ำพุร้อนแจ้ซ้อน ลำปาง

















หน้าบึ้งไปนะแฮจู
นั่งหลับในรถจนเหนื่อย










.........



เบื่อต้มไข่ไปออนเซนกันเหอะ

เพราะ
น้ำพุร้อนติดกับธารน้ำนี่สินะทำให้รู้สึกคล้าย ๆ ญี่ปุ่น











ตอนนั้นอยากเป็นโมเสส และเด็ก ๆ เล่นได้ไม่อายใคร
ที่ตรงนี้มีปลาด้วยนะคะ เราสามารถให้อาหารปลาได้จากตรงนี้ ที่ ๆ "น้ำอุ่น ปะทะ น้ำเย็น"




ดีใจที่เห็นเด็ก ๆ สนุก หลุดจากมือถือ

(สักแป๊บก็ยังดี)








หกโมงเพื่อนวิ่งวุ่นให้ร้านใน อช.แจ้ซ้อนยังเปิดทำครัวให้เรา
เราฉลองวันเกิดเพื่อนด้วยข้าวกล่องที่นั่น
มันไม่สำคัญว่าอาหารหน้าตายังไง หรือบรรยากาศจะเลิศยังไง
เราแค่ใจ ๆ ก็ว่ากันไป


อิ่มขึ้นรถอาหารแทบออกจากท้องเพราะทางบนสันเขานั้นเหวี่ยงน่าดู






ภาพนี้ดัน iso ไปสุด 6400 จริง ๆ ก็ฟ้าเริ่มมืดแล้ว เราจอดที่ชมวิวข้างทาง
ยอดเขานั้นวัดเฉลิมพระเกียรติที่พลาดในทริปเช่นกัน
ไม่เป็นไร ในไทยเมื่อไหร่ก็ได้เนาะ


จาก อช.แจ้ซ้อนมาเชียงใหม่ ขอบายเส้นกิ่วฝิ่นนะคะ เพราะมืดค่ำ ชัน โค้งและอันตราย เลี่ยงมาทางป่าเหมี้ยงเข้าเมืองเชียงใหม่ก็ราว 3 ทุ่ม


ขอบคุณที่แวะมา

จบทริปสันเขา 3 วัน 2 คืน ค่าใช้จ่ายรายหัว ไม่เกิน 2500 บาท ไม่รวมค่ากินดื่ม

Mariabamboo

 วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เวลา 19.13 น.

ความคิดเห็น