การซ้อม กระบวนพยุหยาตราชลมารค ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2

เนื่องจากมีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ พระมหากษัตริย์ที่เสด็จขึ้นเสวยราชย์ จะทรงแสดงพระบารมีให้พสกนิกรของพระองค์ได้ชื่นชม ด้วยการจัดขบวนพยุหยาตราเลียบพระนครขึ้น

บวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเบื้องปลาย อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ที่แสดงถึงพระบารมีอันแผ่ไพศาลของพระเจ้าแผ่นดิน ถือเป็นประเพณีอันงดงาม และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของไทยที่สืบทอดมายาวนานจนถึงปัจจุบัน

เนื่องในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ ชาวไทยและชาวโลกจะได้ชื่นชมการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช 2562

พระราชพิธีที่เว้นห่างเกือบ 100 ปี

หลังจากการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 4 การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลต่อ ๆ มาจึงได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราชลมารคเลียบพระนครด้วย คือในรัชกาลที่ 5, 6 และ 7

ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 8 มีการเว้นว่างเพราะไม่ได้จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ขณะที่ในสมัยรัชกาลที่ 9 นั้น ไม่มีการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราชลมารคในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แม้ว่าจะมีขบวนพยุหยาตราชลมารคหลายครั้งก็ตาม

ด้วยเหตุนี้ ระยะห่างจากการจัดพระราชพิธีดังกล่าวครั้งสุดท้ายในสมัยรัชกาลที่ 7

โบราณราชประเพณี

ข้อมูลจากเว็บไซต์คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ระบุว่า ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค หมายถึง ริ้วขบวนเรือพระราชพิธีที่จัดขึ้นสำหรับพระเจ้าอยู่หัว

เรือพระราชพิธี คือ เรือพระที่นั่งของพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่ประทับในระหว่างเสด็จพระราชดำเนินไปในการต่าง ๆ ทั้งเป็นการส่วนพระองค์ และที่เป็นการพระราชพิธีโดยทางน้ำ ซึ่งมีมาแต่โบราณกาล ตั้งแต่สมัยสุโขทัยสืบทอดต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน

------------------------------

การซ้อมย่อยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งนี้ใช้กำลังฝีพาย 2,200 นาย เรือพระราชพิธี 52 ลำ










ประชาชนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (ตรงสะพานพระราม8)







วิธีพายเรือให้สัมพันธ์กับการเห่เรือ

การพายเรือในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งเป็นพระราชพิธีแบบโบราณนั้น

มีระเบียบการพายอยู่ 4 วิธี คือ

1. พายนกบิน เป็นท่าพายที่ยกพายขึ้น พ้นน้ำเป็นมุม 45 องศา ประดุจนกบิน ท่าพายนี้จะใช้กับเรือพระที่นั่งเท่านั้นคือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ และเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9

(พายนกบิน)


2. พายพลราบ เป็นท่าการพายโดยไม่ให้พายพ้นกราบเรือ ท่าพายนี้จะใช้กับเรือ ร่วมในกระบวนทั้งหมด โดยแบ่งการพายเป็น 4 จังหวะ คือพายจ้วงน้ำแล้วยกขึ้นมาวางทาบตักเป้นแนวขนาน


3. พายผสม เป็นท่าการพายที่ผสมกัน ระหว่างท่าพายพลราบกับท่าพายนกบิน มักใช้ตอนเสด็จพระราชดำเนินกลับ ซึ่งเป็นการพายเรือทวนน้ำ โดยมีวิธีการพาย คือ พายพลราบ 2 พาย ต่อด้วยพายนกบินอีก 1 พาย จึงมักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พาย 3 พาย

4. พายธรรมดา เป็นท่าการพายในท่า ธรรมดาของการพายเรือโดยทั่วๆไป มีข้อสังเกตว่าการพายเรือพระราชพิธีในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเฉพาะเรือพระที่นั่งจะพายท่านกบินเป็นหลัก หากจะเปลี่ยนท่าพายเรือ ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินใดๆ ก็ตามต้องขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อนเสมอ



รูปแบบริ้วกระบวน


เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

" สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ "


เรือพระที่นั่งอนันตนคราช

" อนันตนาคราช งามผุดผาดวาดแวววง "


เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9

" นารายณ์ทรงสุบรรณบิน ลินลาศฟ้าอ่าอวดองค์ "


เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

" อเนกชาติภุชงค์ ลงเล่นน้ำงามเลิศลอย "


เรือทองบ้าบิ่น และ เรือทองขวานฟ้า เรือประตูหน้า


เรือเสือทยานชล และเรือเสือคำรนสินธุ์ เรือพิฆาต

เรือตำรวจ (เรือกรมวัง) เรือตำรวจตาม


เรือตั้ง


เรือกระบี่ราญรอนราพณ์


เรือพาลีรั้งทวีป

เรือสุศรีพครองเมือง

เรือครุฑเหินเห็จ

เรือเอกชัยเหินหาว เรือคู่ชัก

เรือแซง


ประเพณีอันวิจิตร

ในวารสารวัฒนธรรมของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ระบุว่า "กระบวนพยุหยาตราชลมารค" ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรียกแบบอย่างกระบวนเรือสมัยนั้นว่า "กระบวนเพชรพวง" เป็นริ้วกระบวนเรือที่ถือเป็นต้นแบบของกระบวนเรือหลวงสมัยต่อ ๆ มาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งความยิ่งใหญ่งดงามของกระบวนเรือสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ถูกบันทึกไว้โดย นิโคลาส แชแวร์ คณะทูตฝรั่งเศสที่มีโอกาสร่วมชม ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า

"...ไม่สามารถเทียบความงามกับขบวนเรืออื่นใดได้ เป็นขบวนเรือที่มโหฬาร มีเรือกว่า 200 ลำ โดยมีเรือพระที่นั่งพายเป็นคู่ ๆ ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งนั้น ใช้ฝีพายของพวกแขนแดงที่ได้รับการฝึกพายมาจนชำนาญ ทุกคนสวมหมวก เสื้อ ปลอกเข่า ปลอกแขน มีทองคำประกอบ เวลาพายพร้อมกันเป็นจังหวะจะโคน พายนั้นก็เป็นทอง เสียงพายกระทบเป็นเสียงประสานไปกับทำนองเพลงยอพระเกียรติของพระเจ้าแผ่นดิน..."


ขอขอบคุณข้อมูลต่างๆจาก

BBC NEWS ไทย

เว็บไซต์คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

วารสารวัฒนธรรม

ภาพจาก MickeyMoMo

ภาพทั้งหมดจากงานซ้อม วันที่ 17 และ 21 ตุลาคม 2562



Mint Septidkhao

 วันพฤหัสที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เวลา 15.36 น.

ความคิดเห็น